Digiqole ad

ผังเมืองที่ดี คือจุดเริ่มต้นของการกระจายความเจริญ-ลดความเหลื่อมล้ำ

 ผังเมืองที่ดี คือจุดเริ่มต้นของการกระจายความเจริญ-ลดความเหลื่อมล้ำ
Social sharing

Digiqole ad
ร่างผังเมืองกรุงเทพฯ 2568 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ได้ประกาศสู่สาธารณะไปแล้วเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา (https://cpudapp.bangkok.go.th/cityplandraft4) และกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2566 – 22 มกราคม 2567
.
โดย กทม.จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ตามพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 6 ครั้ง ระหว่างวันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2566 ก่อนจะจัดการประชุมใหญ่ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ (ไทย-ญี่ปุ่น) ในวันที่ 6 มกราคม 2567
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการประชาสัมพันธ์ของ กทม.อาจจะยังไม่ทั่วถึงนัก ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ และอาจพลาดโอกาสในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น 😟
.
ดังนั้น เมื่อวานนี้ (17 ธันวาคม) ที่อาคารอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกลจึงจัดกิจกรรม “กรุงเทพ (ผัง) เมืองในหมอก ชีวิตดีดีย์ ที่คุณเลือกไม่ได้?” โดยจัดนิทรรศการแสดงข้อมูลร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับล่าสุด พร้อมกับจัดเสวนา Sol Bar Talk เพื่อติดอาวุธทางความรู้และกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของผังเมืองมากขึ้น
.
การเสวนาสองวงมี สส. และ สก. จากพรรคก้าวไกลร่วมวิเคราะห์และให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับล่าสุด นำโดย ธีรัจชัย พันธุมาศ สส.กรุงเทพฯ เขต 18 (มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง) ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ เขต 9 (หลักสี่ จตุจักร บางเขน) สิริลภัส กองตระการ สส.กรุงเทพฯ เขต 14 (วังทองหลาง บางกะปิ) และ เอกวิน โชคประสพรวย สก.เขตราชเทวี รวมถึงมีนักวิชาการด้านผังเมือง คือ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (รัฐศาสตร์ จุฬาฯ) และ รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์) ร่วมให้ความเห็นด้วย
🏙️ [ ผังเมืองใหม่ แต่แนวคิดเดิม : เน้นกระจุก ไม่กระจาย ]
.
ธีรัจชัยวิเคราะห์ร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับล่าสุด พร้อมชี้ให้เห็นปัญหาว่า ลักษณะการจัดทำผังเมืองกรุงเทพฯ มักเน้นการพัฒนาเข้าสู่ศูนย์กลางเมือง โดยใช้แนวรถไฟฟ้าเป็นหลักยึด ทำให้ความเจริญกระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางและตามแนวรถไฟฟ้า ไม่กระจายออกไปยังพื้นที่รอบนอก ต่างจากผังเมืองในประเทศที่เจริญแล้วซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นบล็อก (block) และกระจายการพัฒนาและความเจริญออกไปสู่บล็อกต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
.
นอกจากนี้ พื้นที่รอบนอกทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพฯ ยังถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำในฤดูน้ำหลาก โดยประชาชนไม่ได้รับการชดเชยจากรัฐแต่อย่างใด จึงยิ่งกดทับความเจริญและโอกาสในการพัฒนาเมืองมากขึ้นไปอีก
ด้วยเหตุนี้ ธีรัจชัยในฐานะ สส.กรุงเทพฯ โซนตะวันออก จึงขอตั้งคำถามโต้แย้งต่อผังเมืองฉบับล่าสุดใน 4 ประเด็น:
.
1) ทำไมจึงปล่อยให้โซนตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ กลายเป็นพื้นที่รับน้ำในฤดูน้ำหลากมาหลายสิบปี
.
2) ทำไมจึงสร้างรถไฟฟ้าถึงแค่มีนบุรี แต่คนในฝั่งหนองจอก ลาดกระบัง กลับไม่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง
.
3) หากหนองจอกถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่การเกษตร แล้วทำไมจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งและปล่อยสารพิษได้
.
4) ทำไมจึงไม่มีการกระจายโรงเรียนและโรงพยาบาลมายังพื้นที่รอบนอก
ด้านศุภณัฐ วิจารณ์ร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับล่าสุดว่า มีการกำหนดให้พื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางระดับรอง (Sub CBD) อยู่ในโซนพระราม 9 และจตุจักร ซึ่งหมายความว่าแหล่งงานก็จะโตอยู่แต่ในพื้นที่นี้ โดยไม่ได้ส่งเสริมให้พื้นที่ชานเมืองทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกเติบโตมากขึ้น
.
หลักคิดเช่นนี้จะส่งผลให้ในอนาคต กรุงเทพฯ จะยิ่งเผชิญกับปัญหาความแออัดมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความเจริญที่กระจุกตัวอยู่บริเวณศูนย์กลางเมือง ความเจริญเช่นนี้ไม่ใช่ความเจริญที่ยั่งยืน เพราะความเจริญที่แท้จริงคือความน่าอยู่ การกระจายสาธารณูปโภคไปสู่คนในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง มีโรงเรียนที่ดี มีร้านอาหารที่ดี มีขนส่งมวลชนที่ดี มีพื้นที่สีเขียว เพื่อให้เกิดทั้งคุณภาพชีวิตและการจ้างงานที่ดีในพื้นที่ โดยไม่ต้องดึงคนเข้าไปในเมือง
.
“คอนเซ็ปต์ของกฎหมายผังเมืองก็สะท้อนปัญหาแบบไทย ๆ ที่ทุกอย่างของประเทศรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ และทุกอย่างของกรุงเทพฯ ก็รวมศูนย์อยู่ในเมือง ทุกอย่างมุ่งเข้าสู่เมือง ไม่กระจายไปไหน” ศุภณัฐกล่าว
💬 [ ชวนประชาชนร่วมแสดงความเห็น ก่อนหมดเวลา ]
.
ด้านเอกวิน กล่าวทิ้งท้ายว่า ร่างผังเมืองฉบับนี้จะเสร็จสมบูรณ์และประกาศใช้ในช่วงปี 2568 แต่หากพ้นช่วงเวลาการรับฟังความคิดเห็นในช่วงนี้ไปแล้วจะไม่มีช่องทางให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมได้อีก จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนศึกษาทำความเข้าใจร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับล่าสุด และร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีการและช่องทางที่แต่ละคนสะดวก
.
เพราะผังเมืองคือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมือง การกระจายความเจริญ และการลดความเหลื่อมล้ำ 🟠
.
ที่มา : เพจพรรคก้าวไกล
Facebook Comments


Social sharing

Related post