Digiqole ad

ผลการประชุมจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 มีมติเห็นชอบให้การสนับสนุนผู้ประกอบการและทีมงานผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 3 เทศกาล

 ผลการประชุมจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 มีมติเห็นชอบให้การสนับสนุนผู้ประกอบการและทีมงานผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 3 เทศกาล
Social sharing

Digiqole ad
วันที่ 16 มกราคม 2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ด้วยความพร้อมรองรับการถ่ายทำครบวงจร และศักยภาพของวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เชื่อมั่นว่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนของบริษัทภาพยนตร์ เพิ่มพูนโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่ระดับสากล เสริมการจ้างงานบุคลากรในวงการภาพยนตร์ ช่วยกระจายรายได้ และต่อยอดการประชาสัมพันธ์ Soft Power ไทย เช่น ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ดนตรี แฟชั่น ศิลปะ เป็นต้น
.
โดยข้อมูลจากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2566 มีการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้นถึง 466 เรื่อง จาก 40 ประเทศทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่ารายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศมีมูลค่าประมาณ 6,600 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นรายได้สูงสุดตั้งแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ทั้งนี้ พบว่า คณะถ่ายทำภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยคณะถ่ายทำจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นลำดับถัดไป
.
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการประชุมจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้การสนับสนุนผู้ประกอบการและทีมงานผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 3 เทศกาล ได้แก่ งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติรอตเตอร์ดัม งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน และงานเทศกาลภาพยนตร์โอซาก้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยและยกระดับการส่งออกอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่ระดับสากล
.
“นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยอย่างเป็นรูปธรรมครบวงจรด้วยการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย และสนับสนุนภาพยนตร์ไทยในเวทีนานาชาติ อุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ เป็นช่องทางนำเสนอ Soft Power ของไทย และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ” นายชัย กล่าว
.
Facebook Comments


Social sharing

Related post