Digiqole ad

ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทยชูแนวคิดการสื่อสารแบบ Connected Experience Solutionsในงาน Power of ONE, Powering the Future

 ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทยชูแนวคิดการสื่อสารแบบ Connected Experience Solutionsในงาน Power of ONE, Powering the Future
Social sharing

Digiqole ad

ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย กลุ่มเอเจนซี่ด้านการสื่อสารการตลาดชั้นนำของประเทศไทย ผู้นำทางด้านการให้คำปรึกษาด้านการสื่อสารด้วยกลยุทธ์ Power of ONE หรือการบริหารกลยุทธ์การสื่อสารแบบ Connected Experience Solutions ที่ตอบโจทย์ครบลูป journey ของกลุ่มเป้าหมายในทุก ๆ touchpoint ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creativity), การวางแผนและบริหารสื่อ (Media), การประชาสัมพันธ์และอินฟลูเอนเซอร์ (PR & Influencer Marketing), การบริหารจัดการคอนเทนท์บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Content), การผลิตสื่อ (Production) และรวมถึงความเชี่ยวชาญพิเศษด้านดาต้าและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Data and Digital Transformation) เผยเทรนด์การสื่อสารล่าสุดในงาน Power of ONE, Powering the Future พร้อมพาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจมุ่งสู่การเติบโตแห่งอนาคตอันยั่งยืนผ่านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ในงานนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทยมีการเผยแพร่องค์ความรู้และเทรนด์ทางการสื่อสารที่ครบในทุกมุมมองของการสื่อสารเพื่อการสร้างกลยุทธ์แบบองค์รวมที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในยุคที่การสื่อสารต้องอาศัยความแม่นยำไร้รอยต่อกับกลุ่มเป้าหมาย (Seamless Communications)

คุณภารุจ ดาวราย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวในงานนี้ว่า ประสบการณ์ของผู้คนต่างมีรายละเอียดที่ซับซ้อน ทั้งในเชิง insight และพฤติกรรม สื่อที่สัมผัสในแต่ละบริบท หรืออิทธิพลจากคนรอบข้าง โดยทุกประสบการณ์ก็ต่างเชื่อมโยงอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นการเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย (Real Identity) เห็นภาพประสบการณ์ทั้งกระบวน จึงเป็นหัวใจแห่งการบริหารการสื่อสารที่จะพาแบรนด์และธุรกิจไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่ง ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย มุ่งเน้นและให้ความสำคัญทางด้านการวางกลยุทธ์ทางการสื่อสาร เข้าถึงและสร้างประสบการณ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ด้วย Connected Experience Solutions ผ่านการผนึกกำลังกันในทุก ๆ discipline หรือ Power of ONE และเรามั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้าไปพร้อมกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของเราอย่างมั่นคง

 

การเผยเทรนด์ของการสื่อสารในงานนี้มีคอนเซ็ปต์ที่ว่า Power of ONE, Powering the Future โดยมุ่งเน้นเทรนด์และทิศทางการสื่อสารที่เจาะลึกสู่อนาคตการสื่อสารที่มาจากทั้งผู้บริโภค ทิศทางของสื่อและอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของสื่อไม่ว่าจะเป็นสื่อดั้งเดิมหรือสื่อดิจิทัล โดยในงานนี้แบ่งเทรนด์การสื่อสารออกเป็น 4 แกนดังนี้

  1. Power of Human Insight
  2. Power of Media
  3. Power of Social Behaviour
  4. Power of Social Content and Influencer

 

ในแต่ละแกนมีการนำเสนอเทรนด์ในมุมมองที่ต่างกันของผู้บริโภคตามบริบทของการสื่อสารดังนี้

  1. Power of Human Insight ซึ่งนำเสนอโดย คุณเจนคณิต รุจิรโมรา, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวางแผนกลยุทธ์, ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย มีใจความสำคัญว่า “มนุษย์ในปัจจุบันมีมุมมองความคิดที่เป็นไปตามประสบการณ์ที่เป็นปัจเจกบุคคลมากๆ วัฒนธรรมการสื่อสารและพฤติกรรมของผู้คน โดยเฉพาะช่วงที่ความปกติเป็นเรื่องที่หาได้ยาก ก็พัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของสื่อ และเข้าถึงคอนเทนท์ จึงตามมาด้วยค่านิยมของผู้คนมีการแตกแขนงออกไปหลากหลาย นำมาสู่ความคลุมเคลือของความเหมาะสม และการยอมรับในเรื่องต่างๆ ความท้าทายของโลกความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นการต้องสร้างกรอบทางเดินให้กลุ่มเป้าหมายเดินไปรู้จักแบรนด์ สร้างประสบการณ์กับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ภายใต้โลกที่เปิดกว้างขึ้น กำหนดทางเดินประสบการณ์แบบที่สร้างความสัมพันธ์ได้อย่างเข้าอกเข้าใจกับผู้คน ซึ่งสุดท้ายแล้วการที่จะทำได้ให้ดีที่สุดก็คือการเข้าใจ Real Identity หรือตัวตนที่แท้จริงของผู้คนให้เจอนั่นเอง”

 

  1. Power of Media โดย คุณลลิต คณาวิวัฒน์ไชย, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัลและมีเดีย ปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “หัวใจสำคัญของเทรนด์ของสื่อคือการที่เราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างเชื่อมเข้าหากัน (Connected era) ซึ่งมันคือการสร้างประสบการณ์การบริโภคสื่อที่เชื่อมต่อทุก ๆ จอ ทุก ๆ แพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายและสร้างการเดินทางหรือ Journey ให้กับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ต้น (awareness) จนสิ้นสุดปลายทางก็คือการซื้อผลิตภัณฑ์ (purchase) ซึ่งนวัตกรรมของสื่อรวมไปถึงสิทธิ์ของปัจเจกบุคคลถือว่ามีอิทธิพลในการพัฒนาการเลือกใช้สื่อเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าหลักการการบริหารสื่อยังคงอยู่ที่ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) แต่ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจโดยผู้บริโภคมีส่วนในการกำหนดทิศทางกับการใช้สื่อมากขึ้น สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหรือ Data รวมไปถึงสิทธิ์ในการได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์จากการเปิดเผยข้อมูลให้สื่อถือเป็นเทรนด์ที่ทำให้เห็นว่าผู้บริโภคเรียกร้องและมองหาประสบการณ์ที่สื่อและผู้บริโภคอยู่ร่วมกันแบบได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (Win-Win ecosystem) ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยสร้างคอมมูนิตี้รวมไปถึงการสร้างความภักดี (Loyalty) ให้กับสื่อและแบรนด์ในอนาคตอีกด้วย”

 

  1. Power of Social Behaviour นำทีมโดย คุณวิบู หาญวรเกียรติ หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริลเลียน แอนด์ มิลเลียน เผยว่า “ภายหลังจากที่ทุกคนได้ถูกจำกัดการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่สร้างมาจากปัจจัยที่ว่ามนุษย์นั้นต้องการสังคมและการแสดงออก การถูกจำกัดการสนทนา และ การสื่อสารที่ไม่เจอผู้คนแบบเห็นหน้ากันจึงสร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมบนโลกดิจิทัลที่ชื่อว่า Expressional Economy หรือสังคมบ่งบอกความเป็นตัวตน ด้วยแพลตฟอร์มบนโลกดิจิทัลที่เข้าถึงในวงกว้าง นวัตกรรมของ gadget ต่างๆ ที่ช่วยให้คนแต่ละคนแสดงออกซึ่งตัวตนของตัวเองได้ง่ายขึ้น ทำให้พฤติกรรมบนโลกของแพลตฟอร์มออนไลน์มีการขยายตัวในวงกว้าง เราจะเห็นว่ามีคอนเทนท์ ครีเอเตอร์ เกิดใหม่กันอย่างมากมาย การสร้างตัวตนบนแพลตฟอร์มถือเป็นเทรนด์ที่แบรนด์และผลิตภัณฑ์มองข้ามไม่ได้ ดังนั้นการเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้มีตัวตนที่ชัดเจนและถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจอยู่ได้นั่นเอง เราจะเห็นว่าแบรนด์ต้องขยับเข้าใกล้กลุ่มเป้าหมายที่มีความชัดเจนในการแสดงออกมากขึ้นและมองหาแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้นบนโลกออนไลน์”

 

  1. Power of Social Content & Influencer ที่ถูกนำเสนอโดยคุณสมิหรา ทันต์เจริญกิจ กรรมการผู้จัดการ ดิจิทาซ ประเทศไทย เผยเทรนด์ของคอนเทนท์ในปัจจุบันว่า “โลกของคอนเทนท์ในปัจจุบันเราไม่จำเป็นจะต้องไขว่คว้าหรือใช้เวลาในการค้นหามากนัก เพียงแค่เรามีความสนใจเรื่องใดเรื่องนึง ทุก ๆ แพลตฟอร์มบนโลกโซเชียลพร้อมที่จะปรับคอนเทนท์และป้อนสิ่งที่ปัจเจกบุคคลให้ความสนใจอยู่กับเราเอง และสืบเนื่องจากการที่มีปริมาณคอนเทนท์ ครีเอเตอร์เกิดใหม่มากมาย จึงทำให้คอนเทนท์บนโลกโซเชียลที่ดูเหมือนจะกระจัดกระจายนั้นกลับมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากผู้คนมีความสนใจหรือ Interest ที่ชัดเจนขึ้น ด้วยความก้าวหน้าของอัลกอริทึมจึงทำให้เรามองเห็นคอนเทนท์ที่เราสนใจเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าแบรนด์ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความสนใจนี้ให้ได้ ซึ่งก็คือการอยู่ให้ถูกที่ ถูกเวลา เกาะกระแสในเวลาและหัวข้อที่เหมาะสมและส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ไปข้างหน้าซึ่งนั่นก็จะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้นั่นเอง และอีกหนึ่งเทรนด์ที่มองข้ามไม่ได้คือคอนเทนท์ที่ผนึกกำลังหรือ Collaboration กันในหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะระหว่างแบรนด์กันเอง, แบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์ หรือแม้กระทั่งอินฟลูเอนเซอร์กับสื่อ ซึ่งเรามองว่าการจับมือร่วมมือกันก็เพื่อการยืมเสียงของอีกฝ่ายเพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะมี interest ที่ต่างกันโดยการสร้างโอกาสเพิ่มการทำความรู้จักกับแบรนด์ที่ตนเองอาจจะไม่คุ้นเคยมาก่อน หรือการสร้างคอนเทนท์ให้มีความน่าสนใจกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้อัลกอริทึมกรองคอนเทนท์ให้ไปถึงผู้บริโภคในวงกว้างขึ้นนั่นเอง”

 

 

 

คุณโศรดา ศรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “กลยุทธ์ของการสื่อสารต้องการบุคลากรที่มีความสามารถและมีองค์ความรู้ที่ไม่เพียงแค่ทำงานได้ในด้านเดียวแต่ต้องสามารถมองภาพการสื่อสารแบบ Connected Experience ร่วมกับบุคลากรคนอื่น ๆ ในองค์กรเพื่อประสิทธิภาพในการวางกลยุทธ์ที่ครบในทุกความเชี่ยวชาญอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรรวมไปถึงการให้โอกาสทางการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ถือเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้บุคลากรของเราพร้อมที่จะเรียนรู้และเปิดประตูสู่โลกของการสื่อสารแบบไร้รอยต่อในทุก ๆ ความเชี่ยวชาญตั้งแต่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ความคิดสร้างสรรค์ บริหารและวางแผนสื่อ การประชาสัมพันธ์และอินฟลูเอนเซอร์ จนไปถึงคอนเทนท์ดิจิทัล ซึ่งเราพร้อมที่จะพาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของเราเติบโตไปข้างหน้าไปด้วยกันอย่างยั่งยืน และมองอนาคตแห่งการสื่อสารให้กับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

 

จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ของปับลิซิส กรุ๊ป นั้นมุ่งเน้นการวางแผนอย่างองค์รวมเพื่อเก็บทุกรายละเอียดและทุกมุมของการสื่อสารเพื่อสร้างประสบการณ์และการเดินทางของกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ต้นจนจบครบลูปของการสื่อสารเพื่อสร้างการจดจำแบรนด์และการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์รวมไปถึงการนำข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายกลับมาเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการสื่อสารให้กับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจอย่างคุ้มค่าและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นหลักการที่เป็นเอกลักษณ์ของปับลิซิส กรุ๊ปที่เรียกว่า The Growth Loop นั่นเอง

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post