พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยเทคโนโลยีใหม่:
การสกัดก๊าซก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากบรรยากาศโดยการดักจับอากาศโดยตรง (Direct Air Capture – DAC) เพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน
- ปอร์เช่ (Porsche), เอช ไอ เอฟ โกลบอล (HIF Global), เอ็ม เอ เอ็น เอเนอร์จี้ โซลูชั่น (MAN Energy Solutions) และ โฟล์ค สวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น(Volkswagen Group Innovation) กำลังร่วมกันศึกษา การพัฒนาของเทคโนโลยี DAC เพิ่มเติม
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สกัดขึ้นมาใหม่สามารถทดแทนแหล่งพลังงานสิ้นเปลืองได้
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สกัดจากอากาศสามารถนำมาใช้ในการผลิต eFuels ได้
สตุ๊ทการ์ท/มิวนิค :
ปอร์เช่เสนอถึงมุมมองด้านเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญของการดักจับอากาศโดยตรง(Direct Air Capture – DAC) ซึ่งอยู่บนขั้นตอนการผลิตสินค้าในปริมาณมาก (mass production) เป็นการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกจากชั้นบรรยากาศในปริมาณมากโดยลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีนี้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการร่วมมือกับโฟล์ค สวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น (Volkswagen Group Innovation), บริษัทeFuels เอช ไอ เอฟ โกลบอล (HIF Global) และ เอ็ม เอ เอ็น เอเนอร์จี้ โซลูชั่น(MAN Energy Solutions) ผู้ผลิตรถสปอร์ตรายนี้กำลังมองหาทางบูรณาการองค์ประกอบ DAC เข้ากับโรงงานนำร่อง eFuels ในชิลี วิธีการนี้สามารถใช้เพื่อสกัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอากาศที่จำเป็นสำหรับการผลิต eFuels ที่โรงงานนำร่อง Haru Oni และ ณ การประชุมสุดยอด IAA ในมิวนิค เทรดแฟร์เซ็นเตอร์ (Munich Trade Fair Centre) ฮอลล์ B2 บูธ Volkswagen Group ผู้วางแผนโครงการจะแสดงให้เห็นว่า DAC สอดคล้องกับกลยุทธ์ของปอร์เช่อย่างไร และจะอธิบายถึงรายละเอียดของแนวคิดและองค์ประกอบนี้สามารถทำงานได้อย่างไร
“ในการชะลอภาวะโลกร้อน จำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ ในขณะเดียวกัน เราต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตต่างๆ แล้วทำไมไม่รวมทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกันล่ะ? ใช่ เรากำลังดำเนินการในเรื่องนั้นอยู่ เราต้องการนำกระบวนการดักจับอากาศโดยตรงทางอุตสาหกรรมหรือ DAC มาใช้ในการผลิตเป็นระยะยาว ด้วยความร่วมมือกับทีมงานมากประสบการณ์ที่ Volkswagen Group Innovation, HIF Global ซึ่งเป็นพันธมิตรผู้ก่อตั้ง eFuels และ MAN Energy Solutions เรากำลังตรวจสอบการบูรณาการนำร่อง DAC ที่โรงงาน eFuels ในชิลี เราถือว่า DAC เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสำหรับอนาคต เนื่องจากสามารถนำไปใช้ในการสกัดโมเลกุลคาร์บอนที่จำเป็นสำหรับการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จำนวนมากได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นเราจึงกำลังทำงานเพื่อนำเทคโนโลยีไปสู่อนาคตที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น” ไมเคิล สเตนเนอร์ (Michael Steiner) สมาชิกคณะกรรมการบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาของปอร์เช่ เอจี (Porsche AG) กล่าว