Digiqole ad

อว.ปลื้มโครงการ U2T ทะลุเป้า ดันจ้างงานนิสิตนักศึกษาเกือบ 50,000 คน ชี้ปูพรมไปแล้ว 3,000 ตำบล ได้ประโยชน์หลายทาง

 อว.ปลื้มโครงการ U2T ทะลุเป้า ดันจ้างงานนิสิตนักศึกษาเกือบ 50,000 คน ชี้ปูพรมไปแล้ว 3,000 ตำบล ได้ประโยชน์หลายทาง
Social sharing
Digiqole ad

อว.ปลื้มโครงการ U2T ทะลุเป้า ดันจ้างงานนิสิตนักศึกษาเกือบ 50,000 คน ชี้ปูพรมไปแล้ว 3,000 ตำบล ได้ประโยชน์หลายทาง ทั้งสร้างรายได้พื้นที่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจนับหมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันช่วยให้นศ.อัพเกรด 4 ด้านฝ่าวิกฤติโควิด-19

ศาสตราจารย์(พิเศษ) นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานโครงการ U2T หรือโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงอว.ภูมิใจ เนื่องจากเป็นการส่งมหาวิทยาลัยไปพัฒนาตำบล โดยใช้พลังความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันยังทำให้เกิดการจ้างงานของบัณฑิตระยะเวลา 6เดือน (1ก.พ.-31 ส.ค.)ที่ผ่านมาเฉลี่ยเดือนละ 56,413 คน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบัณฑิตนักศึกษามีงานทำมีรายได้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และในเวลาเดียวกันเป็นการพัฒนาคนที่เข้าร่วมโครงการให้มีทักษะ 4 ด้าน คือ ดิจิทัล ภาษาอังกฤษ การเงินและสังคม พร้อมที่จะไปพัฒนาตนเองและพัฒนาประเทศหลังจากสถานการณ์ โควิด-19 ดังนั้นโครงการดังกล่าวจึงเป็นตัวอย่างของโครงการและกิจกรรมที่กระทรวงอว.ดำเนินการในเวลานี้

นพ.สิริฤกษ์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนคือมหาวิทยาลัยรู้ว่ารัฐจะต้องรับผิดชอบในพื้นที่ใดและมีเป้าหมายโดยตรงที่จะเข้าสู่การพัฒนา ดังนั้นมีกลไกในการเลือกพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน ฉะนั้น 1 ตำบลจะมี 1 มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงและเมื่อเข้าไปดูแลแล้วจะมอบผู้ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดการจ้างงานเกิดขึ้น โดยปัจจุบันมี 3,000 ตำบลที่ร่วมโครงการจากทั่วประเทศกว่า 7,000 ตำบล คิดเป็น 40% ซึ่งมีการจ้างงาน 3 กลุ่มด้วยกัน 20 คนต่อตำบล ตั้งแต่บัณฑิตที่จบใหม่ นิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในพื้นที่ให้มีการจ้างงานในพื้นที่ โดยบุคคล 20 คนเป็นทีมอว. ที่จะไปพัฒนาและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อดูว่าควรจะทำอะไรที่จะพัฒนาในพื้นที่นั้น จากนั้นมหาวิทยาลัยทั้งหมดจะมาประมวลว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อไปพัฒนาด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ ทั้งนี้จากโครงการดังกล่าวได้เห็นความสำคัญของพลังนิสิต นักศึกษา เยาวชนและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ร่วมในโครงการได้เกิดแนวคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน

นพ.สิริฤกษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในตอนท้ายยังมีโครงการHackkathon ซึ่งเป็นโครงการที่ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเสนอแนวคิดและวิธีการพัฒนาซึ่งหากผลจากโครงการไปแล้วผลที่จะได้ตอบรับตามมาคือประเทศไทยมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นการพัฒนาเหมือนการสร้างราแก้วให้กับประเทศซึ่งไม่ได้เป็นการพัฒนาเฉพาะหน้าแต่เป็นการวางรากฐานในระยะยาว

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะทำให้เกิดการจ้างงาน มีการสร้างรายได้และคนนอกโครงการได้ประโยชน์จากการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่อยู่ในโครงการ 50,000 คน และจะได้เป็นเงินเดือนอยู่ในกระเป๋าจากผู้ที่ถูกจ้างงานเกือบหมื่นล้านบาท ซึ่งเงินดังกล่าวจะถูกหมุนเวียนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ใน 3,000 ตำบลทั่วประเทศ นอกจากนี้สิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้คือการที่จะได้ทำงานคนเหล่านี้หลังจากเรียนจบกว่า 60,000 คนมีงานทำ ซึ่งถ้าไม่มีโครงการดังกล่าวในช่วงวิกฤติโควิด-19 อาจจะตกงานก็ได้ นอกจากนี้ยังมีผลงานจากโครงการที่กระจายไปทั่วประเทศกว่า 10,000 ผลงาน โดยบางโครงการ ยกตัวอย่างเช่น ในบางพื้นที่มีการนำเปลือกหอย กากมะพร้าว เปลือกทุเรียนไปแปรสภาพเป็นสินค้าที่มีมูลค่า นำไปขายและสร้างรายได้ ซึ่งประโยชน์ก็เกิดขึ้นในพื้นที่ ฉะนั้นโครงการดังกล่าวได้กับคนที่ร่วมโครงการและคนภายนอกโครงการด้วย

Facebook Comments

Related post