
“ประเสริฐ จันทรรวงทอง” รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมชี้แจงในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบดิจิทัลของประเทศ


นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมชี้แจงในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา วันที่ 12 กันยายน 2566 เกี่ยวกับการพัฒนาระบบดิจิทัลของประเทศ ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาระบบ Digital ของประเทศ นั่นเป็นเหตุผลว่าเราจะลงทุนด้าน Digital Infrastructure เช่น กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet), National Blockchain และ E-Government อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
.
เรื่อง Go Cloud First เป็นแนวทางที่รัฐบาลกำหนดรายละเอียดและวางกรอบเอาไว้แล้วในการขยายคลาวด์ ซึ่งเป็นการวางเชิงโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเน้นการสร้าง Public Cloud และ Private Cloud ที่มีมาตรฐานในการดูแลข้อมูลภาครัฐ นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีโครงการดึงดูดบริษัทชั้นนำทั่วโลก เข้ามาลงทุนด้าน Cloud Data Center ในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Hub) ในเรื่องนี้
.
เรื่อง Digital ID มีเป็นกรอบที่ชัดเจน และได้กำหนดมาตรฐานที่รับรองโดยกฎหมาย
ในด้านการให้บริการ มีทั้ง ThaID และ NDID หรือ National Digital ID ซึ่งเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ที่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ซึ่่งมีผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคนและอยู่ในระหว่างการขยายการใช้งาน (use case) ซึ่งจะทำให้การติดต่อและดำเนินงานผ่านระบบรัฐและการการติดต่อค้าขายทำได้ง่ายขึ้นและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
.
ในเรื่องของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ระดับพื้นที่หรือระดับเมือง เราได้ส่งเสริมการนำข้อมูล Big Data มาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ โดยเชื่อมโยงข้อมูลเมืองในแต่ละชั้นข้อมูลและรวบรวมพร้อมวิเคราะห์ผลผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform : CDP) ซึ่งเป็นวิธีที่สำคัญในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ
.
สำหรับเรื่อง Health Link หรือการพัฒนาคลาวด์ด้านสาธารณสุขของไทย เพื่อเชื่อมโยงประวัติการรักษา เราได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การรับบริการด้านสาธารณสุขสามารถทำได้ทั่วประเทศ โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว ข้อมูลประวัติการรักษาของประชาชนต้องสามารถเปิดดูข้ามโรงพยาบาลได้ทั่วประเทศ
.
นอกจากนี้เรายังได้ทำ Travel Link ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พัฒนา
แพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลท่องเที่ยว แสดงให้เห็นการบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
.
เรากำลังเตรียมจะทำ Digital Government โดยจัดทำแผนแม่บทในการบูรณาการ ความแตกต่างแต่ละกระทรวง มาพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยทำ Super App ที่รวมทุก platform ของภาครัฐ และพัฒนา Blockchain เป็นตัวเก็บข้อมูล มุ่งเน้นให้การเชื่อมข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน อีกทั้ง ในเรื่อง Open Source Code ได้มีการศึกษาไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนดำเนินการ
.
สำหรับเรื่องของ Data Economy ระดับภาพรวม ข้อมูลภาครัฐเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
.
เรื่อง Open Data ถือเป็นมาตรการเชิงรุกด้านดิจิทัลของรัฐบาล ที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ จะเริ่มเปิดข้อมูลของภาครัฐให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้ใช้ประโยชน์ โดยได้มีการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐและระบบให้บริการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันสถิติตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ จะมีการนำเสนอข้อมูล โดยมีการวิเคราะห์โดยกระทรวงด้วย สามารถนำไปใช้ซ้ำได้ทันที
.
นอกจากนี้ เรายังมีสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่
รับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
.
อย่างไรก็ตาม การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนั้น
ต้องทำควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคลของพี่น้องประชาชน ผมจึงจะส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชน มีความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) และให้มีการเตรียมพร้อมรองรับการบังคับใช้ในเรื่องนี้ให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล
.
สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ประโยชน์จาก IoT ซึ่งกระทรวงมีสถาบัน depa และสถาบัน IoT ซึ่งทำงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ร่วมกับ startup เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม IoT และพัฒนามาตรฐานของอุปกรณ์ ในเรื่องความปลอดภัย เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่บัญชีบริการดิจิทัล
.
การส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ โดย depa จัดการส่งเสริม IoT ไปใช้ ในภาคส่วนสำคัญ ดังนี้
.
1) ภาคการเกษตร
2) ภาคอุตสาหกรรม เครื่องจักร
3) การพัฒนา Smart City ซึ่งมีกลไกการขับเคลื่อนในการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ startup ที่มีขีดความสามารถ และพัฒนาเมือง แบบยั่งยืน อาทิ
.
– การใช้ IoT และเทคโนโลยีอื่นเชื่อมโยงข้อมูลกับการบริการจัดคิวรถบรรทุก ท่าเรือแหลมฉบัง
– การส่งเสริมกิจกรรมของเทศบาลนครยะลา ในการใช้ข้อมูลทั้งจากกล้องและจาก IoT เพื่อการรับเรื่องร้องเรียน การจัดเก็บภาษีและการแก้ไขปัญหาขยะ
– การส่งเสริมเมืองภูเก็ต ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานทั้งจาก NB-IoT บนเครือข่าย
Cellular หรือเครือข่ายมือถือและ LoRa ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยี
.
ฉะนั้น การทำงานของกระทรวงดิจิทัลฯ มีแผนงานให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสตาร์ทอัพไทย ได้มีโอกาสในการพัฒนาประเทศ โดยเชื่อว่าการเปิดประตูการค้ากับภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การส่งเสริมเมืองให้มีการใช้เทคโนโลยี ที่มีทั้งข้อมูลของเมือง การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาเมือง ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคต การพัฒนาระบบนิเวศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นการปิดช่องว่างโดยรัฐจะสนับสนุนทั้งผ่านรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) หรือ Matching Fund
.
สำหรับข้อความห่วงใยในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
.
1. การวางโครงสร้างพื้นฐานระบบ IoT โดยเราจะใช้ Lorawan และ NB – IoT ซึ่งเป็นระบบที่ดีกว่า 5G และใช้พลังงานต่ำกว่า
.
2. เรามีแนวคิดเรื่อง Digital Literacy ซึ่งเป็นการใช้ทักษะในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น เรามีการอบรมภาคราชการและภาคประชาชน ในการให้เข้าถึงความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยี สำหรับเรื่อง Digital Wallet ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องของ Blockchain และด้วยเทคโนโลยีที่มีความโปร่งใส เงิน 10,000 บาท จะถึงมือพี่น้องประชาชนครบทุกบาททุกสตางค์
.
3. ประเด็นความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย สร้างความโปร่งใสตรวจสอบได้ ใน 3 เรื่อง ได้แก่
.
– การใช้ระบบการจ่ายเงินภาครัฐ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
– เปิดให้ขอใบอนุญาตและการติดต่อราชการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ One Stop Service เพื่อลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และ
– นำระบบ Blockchain มาใช้เพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรมกับภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็น Digital Government
.
ทั้งนี้ในเรื่องของไรเดอร์ ซึ่งเมื่อ 2 เดือนก่อน ได้มีโอกาสพูดคุยกันและยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น หลังการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว จะนัดหมายพี่พี่น้องไรเดอร์ให้มาพูดคุยเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาและนำเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหา
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย

Facebook Comments