Digiqole ad

ปฏิบัติการ “โคนัน” ค้นหาความจริง

 ปฏิบัติการ “โคนัน” ค้นหาความจริง
Social sharing

Digiqole ad

            จากหนังสือการ์ตูนยอดนิยมเมื่อ ปี 2537 สู่หนังการ์ตูนสุดฮิตเมื่อปี 2539 นับถึงวันนี้ 18 ปีแล้วกับ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน” ภายใต้คำนิยาม “ผู้มองเห็นความจริงเป็นเพียงหนึ่งเดียว ถึงตัวจะเป็นเด็ก แต่สมองเป็นผู้ใหญ่ ชื่อของเขาคือนักสืบโคนัน”

            ชื่อของ “โคนัน” ได้ถูกกลับนำมาใช้ในคดีของ “แตงโม-นิดา พัชรวีระพงษ์” นักแสดงสาวที่ประสบอุบัติเหตุตกเรือสปีดโบ้ท โดยนำมาใช้กับบรรดา “ชาวเน็ต” แห่ง “โลกโซเชี่ยลมีเดีย” ซึ่งเรียกกันว่า “ทีมโคนัน” ที่ช่วยกันระดมค้นหาความจริง และคืนความยุติธรรมให้กับนักแสดงสาวผู้นี้

            “ชาวเน็ต” กับนิยามที่ชัดเจนขึ้น

แต่เดิมหลายคนอาจได้ยินคำว่า “ชาวเน็ต” แบบผิวเผินไม่ได้ใส่ใจลงลึกสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เข้าใจไปในทางลบว่า เป็นพวกชอบเผือกเรื่องชาวบ้าน ชอบนำเสนอข่าวแบบเฟคนิวส์ ชอบยุให้รำตำให้รั่ว และเรื่องลบ ๆ อีกมากมาย

มาถึงวันนี้ “ชาวเน็ต” แห่งประเทศไทย ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นพลังบวกที่รวมตัวกันเพื่อปฏิบัติภารกิจสืบเสาะเจาะค้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ โดยเฉพาะด้านลบให้มีความกระจ่างสว่างขึ้น นำความจริงที่มีเพียงหนึ่งเดียวมาบอกกล่าวให้คนในสังคมได้รับทราบว่าอะไรคืออะไร จะได้ไม่ค้างคาใจ จะได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน จะได้จบเร็วขึ้นแบบไม่ต้องมโนหรือเต้าข่าวกันอีกต่อไป

ทั้งนี้ใคร ๆ ก็สามารถเป็น “ชาวเน็ต” ได้ โดยไม่ต้องสมัครขึ้นตรงกับใคร (ขึ้นตรงกับตัวเอง)  โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด มีเพียงแค่คุณจริงใจและใส่ใจที่จะมีหัว “ค.คิด-ว.วิเคราะห์-ย.แยกแยะ”  เพื่อให้เกิดความจริงความถูกต้องกับเรื่องที่คุณสนใจตั้งแต่ต้นกระทั่งจบ ซึ่งไม่กำจัดอายุ เพศ การศึกษา อาชีพ ใด ๆ

คดี “แตงโม” แจ้งตัดสายสะดือ

จากคดีของ “แตงโม นิดา” คือจุดกำเนิดของชาวเน็ตหรือชาวโคนันแห่งโลกโซเชี่ยลมีเดียอย่างเต็มตัว ที่ได้รับคำชื่นชมจากผู้คนทั้งชาวไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศ อาศัยอยู่ทั่วโลก  และชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจในคดีอันลือลั่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น อาทิ ลาว,กัมพูชา,เวียดนาม,ฟิลิปปินส์,จีน,ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้ และไต้หวัน บางประเทศอย่าง เวียดนามก็กระโดดลงมาเป็นชาวโคนันช่วยสืบข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการเจาะเรื่องคลิปแบบละเอียดยิบ

ชาวโคนันที่ก้าวเข้ามาสืบสวนในคดีนี้ ส่วนใหญ่จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่มีความว้าว! มาก เพราะเป็นทำงานกันเป็นทีมเวิร์ก คือ ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน มีระบบการทำงานที่ชัดเจนโปร่งใส่ ต่างคนต่างรู้หน้าที่ของตนเองในการปฏิบัติภารกิจให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่มีการแกร่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ต่างชื่นชมให้ความสำเร็จในแต่ละระดับ สังเกตได้จากข้อความที่คอมเม้นท์กันในโซเชี่ยลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊กแฟนเพจ,tik tok และทวิตเตอร์ นับว่าเป็นบรรยากาศของการทำงานในโลกยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

รูปแบบการสืบหาความจริง

            ตั้งข้อสังเกตการทำงานของชาวโคนันพอจะสรุปในชื่อ CONAN คือ

CCommunity : มีความเป็นชุมชนและสังคมที่เป็นกลุ่มเป็นก้อน เมื่อมีประเด็นใดเกิดขึ้นมา ทุกคนจะมาช่วยกันรุมขยี้ประเด็นให้เกิดความกระจ่าง อาทิ เรื่องคลิปจากที่คลุมเครือไม่ชัดเจน ก็มีการนำไปเทคนิคต่าง ๆ ทำให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นแบบไม่น่าเชื่อ บางเคสทำเอาผู้เชี่ยวชาญจริง ๆรวมทั้งตำรวจต่างทึ่งในฝีมือของชาวโคนัน ที่ย้อมสีแต่งแสงจนเกิดภาพที่ชัดแจ้งมาก

           OOverload : มีทำงานกันอย่างทุ่มเท จริงจังจริงใจ แบบไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จะเห็นได้จากมีการนำเสนอข้อมูลแบบ 24 ชั่วโมง ไม่ต่างจากร้านสะดวกซื้อ เห็นได้จากเข้าไปดูในแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เมื่อใดจะเห็นข้อมูลอัปเดตอยู่เสมอ

           NNegative มีการเปิดปฏิบัติการล่าข้อมูลเชิงลบ (Negative) หรือล่าแม่มด โดยเฉพาะจากพยานและหลักฐานซึ่งมีความไม่ชัดเจน มืดมนเป็นแดนสนธยาให้กลายเป็นข้อมูลที่นำมาหักล้างกับความไม่ชัดเจน ไม่ถูกต้อง ให้กลายเป็นข้อมูลที่อาจบ่งชี้ความผิดของผู้กระทำผิด หรือให้การและแสดงหลักฐานเป็นเท็จได้

            AAppove มีการทำงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เห็นพ้องต้องกัน แทบจะไม่เห็นความขัดแย้งกันของชาวโคนัน เหมือนกับคนกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความขัดแย้งกันทะเลาะกันเป็นเรื่องเป็นราว

            NNeed มีความปรารถนาเดียวกันคือ คืนความยุติธรรมให้กับผู้วายชนม์ เมื่อจะมีปัญหาและอุปสรรคที่เสมือนเกมพลิกไปมา แต่ชาวโคนันก็มีความมุ่งมั่นสู้ไม่ท้อ เพื่อให้ทุกอย่างคลี่คลายไปในทางที่ดี

           ถูกดราม่าว่า “หิวแสง”

มีคนพูดว่าคดีของ “แตงโม นิดา” เป็นสนามของบรรดา “ผู้หิวแสง” มากมายที่กระโดดลงสนามรบ ทั้ง ๆ ที่บางคนก็เป็นนักรบที่ไม่มีอาวุธ ในขนาดที่คนอื่นอาวุธครบมือ ก็ตายอย่างกับเขียด บางคนถึงกับทัวร์จอดลงหลายคัน แต่สำหรับชาวโคนันไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะที่เห็นจะไม่ค่อยปรากฏตัว มีแต่สืบเสาะข้อมูลนำมาลงอย่างเดียว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นผู้ไม่หิวแสง ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นผู้ปล่อยแสง (สว่าง) ให้คนอื่นนำไปต่อยอดจะเป็นประโยชน์ส่วนตัวหรือส่วนรวมก็สุดท้ายแล้วแต่

อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้คนออกมาไลฟ์หรือทำคลิปกันก็มีทั้งสุภาพชน และพังพาบชน เพราะพูดจาค่อนข้างหยาบคายจนเกินไปแบบไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  เหมือนแม่ค้าขายของออนไลน์บางคนที่นิยมมีงมาพาโวยกัน เรียกลูกค้าเข้าร้านกัน

           ฝูงสัตว์ท่ามกลางชาวโคนัน

จากคดีที่ยืดยาวมาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อยมาจนถึงวันนี้กว่าครึ่งเดือนแล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะปิดคดี เพราะเข็มทิศนำทางของ ตร.(ตำรวจ) เสีย จึงทำให้คดี ตม. (แตงโม) ไม่คืบหน้า กลับมีตัวละครกับฉากมากขึ้นไปอีก จึงทำให้เกิดสารพัดสัตว์ขึ้นมากมายในระหว่างการดำเนินการ เช่น งานนี้งานระดับ “โขลงช้าง” อดตาหลับขับตานอนติดตามคดีจนขอบตาคล้ำกลายเป็น “หมีแพนด้า” คุณแม่แตงโมให้อภัยคนที่มีส่วนให้ลูกสาวเสียชีวิต ทำเอาคนค่อนประเทศกลายเป็น “หมา” ไปเลย อีกทั้งทำให้เกิดวลีใหม่ว่า “เพื่อนเป็นหมา ผู้ต้องหาเป็นลูก” ส่วนสัตว์ที่ชื่อว่า “เหี้…” ก็ขอละในฐานะที่เข้าใจกัน ส่วนผู้ดำเนินรายการโหนกระแสอย่าง “หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย” ก็ถูกว่าเป็น “แพะ” กรณีเปิดประเด็น 30 ล้านบาท รวมทั้ง “บ่าง” (อุ๊ยยยยยย!) ที่ชอบยุให้เกิดประเด็นดราม่าอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งก็ยุขึ้นด้วย โดยเฉพาะกรณีเงิน 30 ล้านบาทเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่ชาวโคนันที่ถูกเรียกว่า “มดงาน” ถูกเปรียบเปรยแบบนี้ค่อยยังชั่วหน่อย

          ดึงฟ้าลงมาต่ำ

หนึ่งในตลาดดราม่าที่เกิดขึ้นในขณะนี้คงพูดลำบากว่า ใครเป็นจุดประเด็น ชาวโคนัน เกรียนคีย์บอร์ด ผู้ไม่หวังดี ผู้ไม่รู้ข้อเท็จจริง ฯลฯ ที่ดึงเอาผู้ใหญ่ท่านหนึ่งลงมาเกี่ยวข้องกับคดีนี้ กล้าโพสต์ลงในโซเชี่ยลมีเดียซึ่งก็แทบจะไม่มีใครกล้าคอนเม้นท์

โดยจะว่าไปแล้วหากเป็นผู้ใหญ่ท่านใด ๆ ก็ตามคงไม่มีตรรกะเช่นนี้ คือให้ลงเรือวนไปวนมาแล้วให้พามาส่งที่โรงแรมริมน้ำเจ้าพระยา….ลองคิดให้ดี ๆ

อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่บ้านเมือง โดยเฉพาะตำรวจไทยและกระบวนการยุติธรรมไทย ต้องพิสูจน์ความจริงที่มีเพียงหนึ่งเดียวให้เป็นประจักษ์ เพื่อกู้ศักดิ์ศรีและความศรัทธาคืนกลับมาให้จงได้ อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล มิเช่นนั้นชาวโคนันก็กลายเป็นพระเอกตัวจริงเสียงจริงนะจ๊ะ!

 

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post