Digiqole ad

ปคบ.ยันจับผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อมีคำสั่งจากอัยการจังหวัด ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ลักลอบนำเข้าและจำหน่าย

 ปคบ.ยันจับผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อมีคำสั่งจากอัยการจังหวัด ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ลักลอบนำเข้าและจำหน่าย
Social sharing

Digiqole ad

ส.ส.เอกภพ เพียรพิเศษ เปิดเผยเอกสารจาก บก.ปคบ. ยืนยันเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีสิทธิ์จับปรับผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า แต่ปัจจุบันกฎหมายไม่ชัดเจน ทำประชาชนรับกรรม เกิดการทุจริตรีดไถผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก ย้ำต้องทบทวนการแบนบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนและชี้ให้เห็นว่ากฎหมายปัจจุบันไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง
“หมอเอก” ส.ส. เอกภพ เพียรพิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 1 จังหวัดเชียงราย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาว่า “ผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกจับปรับไม่ได้ จะจับได้ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งจากอัยการจังหวัด ซึ่งหมายความว่าต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ลักลอบนำเข้าและจำหน่าย ตามเอกสารที่มีการสอบหาข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร ในรูปที่แนบให้รายละเอียดไว้ชัดเจนนะครับ”


พร้อมกับแนบเอกสารจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปว่า “เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก. ปคบ. ไม่สามารถจับกุมหรือดำเนินคดีกับผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติในข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทั้งในสถานที่ส่วนตัวและสถานที่สาธารณะได้
ส่วนประเด็นในความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242, 246 นั้น พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดตามกฎหมายดังกล่าวนั้น ต้องมีคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาผู้ต้องหาในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เนื่องจากพนักงานสอบสวนบก.ปคบ. มีแนวทางการพิจารณาองค์ประกอบความผิดตามข้อหาดังกล่าวตามกรอบวินิจฉัยของอัยการจังหวัดปทุมธานีที่เคยมีแนววินิจฉัยไว้ว่า เนื่องจากบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องหานำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ข้อ 4 และเป็นสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ดังนั้น ของต้องห้ามดังกล่าวกฎหมายห้ามนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ของต้องห้ามดังกล่าวจึงไม่อาจผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเสียภาษีได้ บุคคลผู้สูบหรือครอบครองบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า ​ประกอบกับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ไม่มีบทบัญญัติความผิดและบทลงโทษในข้อหาช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับ จำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า โดยรู้ว่าเป็นสิ่งของต้องหามแต่อย่างใด ดังนั้น การดำเนินงานของพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงต้องดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ที่จะสั่งตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ในความผิดฐานดังกล่าว”


นอกจากนี้ สส. หมอเอก ยังกล่าวต่อไปว่า “สรุปว่าการแบนบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นการ ‘แบนทิพย์’ เพราะมีขายกันเกลื่อนแบบไร้การควบคุมการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าก็จะจับกุมรีดไถไม่ได้แล้วนะ หรือจะจับเพื่อทำให้การแบนนั้นมีผลจริงก็ทำไม่ได้” พร้อมตั้งคำถามทิ้งท้ายว่า “สรุปว่า… แบนบุหรี่ไฟฟ้าเพื่ออะไร เพื่อใคร ทำได้จริงหรือ???”
หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ไปได้ไม่นาน ก็มีผู้เข้ามาสอบถามในคอมเมนต์ว่า “แล้วในขณะที่ถูกจับ เราต้องทำอย่างไรครับ เพราะแทบทุกครั้งที่เห็นมาคือจบด้วยการเรียกเงิน โดยการอ้างต่างๆนาๆ คือผมต้องให้เขาจับไปแล้วค่อยไปสู้คดีหรืออย่างไร อยากทราบวิธีปฏิบัติตัวตอนที่โดนจับ” ซึ่ง หมอเอก ได้เข้าไปตอบคอมเมนต์ดังกล่าวด้วยตัวเองว่า “ถ้าจะจับต้องมีคำสั่งจากอัยการครับ เจ้าหน้าที่จับเองไม่ได้ อัยการจะสั่งได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานว่าเป็นผู้ลักลอบนำเข้า ผู้ขาย และกฎหมายศุลกากรไม่มีความผิดเกี่ยวกับการรับของโจร ทำให้ผู้ใช้ที่ครอบครองไม่ผิดครับ”
ที่มา https://www.facebook.com/100063537768976/posts/pfbid02VbSFCboZLtX2AqpMchknDtGCrcpatFnH6BJX1Di1MDLpqekPRDms55dFqPq4JYtSl/?d=nhttps://www.facebook.com/100063537768976/posts/pfbid02VbSFCboZLtX2AqpMchknDtGCrcpatFnH6BJX1Di1MDLpqekPRDms55dFqPq4JYtSl/?d=n

Facebook Comments


Social sharing

Related post