Digiqole ad

นายกฯ “เศรษฐา ทวีสิน” ร่วมงาน “UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024” เน้นย้ำไทยพร้อมเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจ ความพร้อมของไทย

 นายกฯ “เศรษฐา ทวีสิน” ร่วมงาน “UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024” เน้นย้ำไทยพร้อมเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจ ความพร้อมของไทย
Social sharing

Digiqole ad
นายกรัฐมนตรีร่วมงาน UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024 เน้นย้ำไทยพร้อมเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจ ความพร้อมของไทย เชิญชวนภาคเอกชนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
.
วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.45 น. เวลาท้องถิ่นฮ่องกง ณ ห้อง Grand Ballroom โรงแรม Four Seasons เขตบริหารพิเศษฮ่องกง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมงาน UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024 งานรวมตัวของภาคธุรกิจ นักลงทุนจากสถาบันการเงินทั่วโลก และบุคคลที่มีชื่อเสียงในภาคธุรกิจ มากกว่า 2,000 ราย รวมทั้งบริษัทในเอเชียแปซิฟิก 300 แห่ง ซึ่งได้มาหารือกันถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และการค้า การลงทุน ในภาคต่าง ๆ
.
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Wisdom: An eye on the past, a view to the future” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ที่นำภูมิปัญญา หรือ Wisdom จากประสบการณ์ในอดีต มาเป็นแนวทางในการรับมือกับความท้าทาย และกำหนดอนาคตของประเทศไทย โดยความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตนี้ ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้ไทยผ่านพ้นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ซับซ้อน และสามารถคว้าโอกาสที่ช่วยประเทศให้เติบโตทางเศรษฐกิจได้ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงวิสัยทัศน์ต่ออนาคตของประเทศไทย
.
ส่วนของการกำหนดนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล คือ การสร้างนโยบายเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจเติบโตด้วยการส่งเสริมนวัตกรรม ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยมีแนวทางในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการคลัง การปฏิรูปกฎระเบียบ และการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในสาขาที่สำคัญ อาทิ ไทยปรับปรุงมาตรการด้านภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนมากขึ้น และปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ ขจัดอุปสรรคด้านขั้นตอนเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านธุรกิจและการเติบโตของผู้ประกอบการ รวมทั้งลดความซับซ้อนในการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างชาติ พัฒนาระบบ Super License สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลดข้อจำกัดการนำเข้าและส่งออก และการส่งเสริมพลังงานสะอาด โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก
นโยบายทางการเงินการคลังที่สำคัญ คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล โดยในไตรมาสแรกของปี 2567 ประเทศไทยมีการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 1.5% และคาดการณ์ทั้งปีจะอยู่ที่ 2-3% รัฐบาลจึงมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงการเติบโตเศรษฐกิจของไทยให้สูงขึ้นผ่านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท (275 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้คนไทย 50 ล้านคน ซึ่งจะช่วยอัดฉีดเงินกว่า 5 แสนล้านบาทเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย และจะสามารถกระตุ้น GDP ได้ 1.2 – 1.8% และด้วยกระเป๋าเงินดิจิทัลนี้เงินจะลงไปถึงชุมชนท้องถิ่น ธุรกิจเล็ก ๆ ทำให้เกิดผลกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น โดยในระยะยาว นโยบายดังกล่าวจะวางรากฐานระบบการชำระเงินแบบบล็อกเชนทั่วประเทศ พร้อมด้วยการรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด และการลงทุนจากต่างประเทศที่มากขึ้น
.
ด้านนโยบายการค้า รัฐบาลจะตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นพันธมิตรที่สำคัญสำหรับ Supply Chain ทั่วโลก โดยดำเนินการลดข้อจำกัดการนำเข้า-ส่งออก เร่งการเจรจา FTA กับเขตเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่า การเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป ที่มีความคืบหน้าและคาดว่าจะลงนามความตกลงได้ภายในปี 2568
.
ด้านการดำเนินธุรกิจ รัฐบาลกำลังสร้างกลไกในการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ควบคู่กับการส่งเสริมธุรกิจที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งยังปรับปรุง ease of doing business กฎระเบียบและการแปลงบริการภาครัฐให้เป็นดิจิทัล และลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น สนามบิน และโครงการ Landbridge
.
ด้านการพัฒนามนุษย์ รัฐบาลพร้อมเสริมสร้างบุคลากรให้มีความพร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการส่งเสริมการศึกษา ทักษะ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) ให้กับเยาวชนตั้งแต่ยังเด็ก รวมถึงมีหลักสูตรในการปรับทักษะทางวิชาชีพสำหรับแรงงานที่มีอยู่ด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลมีแผนที่จะดึงดูดผู้มีความสามารถจากต่างชาติ ด้วยการปรับปรุงการออกใบอนุญาตทำงานและกระบวนการขอวีซ่า และเสนอสิทธิประโยชน์ เพื่อเติมเต็มช่องว่างด้านแรงงานที่มีทักษะ
ด้านการส่งเสริมความยั่งยืน ไทยให้ความสำคัญกับการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ผ่านการปรับปรุงเศรษฐกิจสีเขียว และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด ในขณะที่เพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ net-zero ภายในปี 2065 ซึ่งในปี 2040 ไทยจะกลายเป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาค โดย 50% ของไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศไทยมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน พร้อมเชิญชวนภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานสะอาดมาร่วมลงทุนในไทยมากขึ้น
.
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ Ignite Thailand ทั้ง 8 วิสัยทัศน์ โดยนายกรัฐมนตรีประกาศว่า ต้องการทําให้ประเทศไทยเป็น “สถานที่ที่น่าอยู่” เป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคของบริษัททางการเงิน ซึ่งเป็นด้านที่ไทยมีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาล ประกอบกับศักยภาพของประเทศไทย ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าวิสัยทัศน์นี้อยู่ใกล้แค่เอื้อม
.
โดยนายกรัฐมนตรีเชิญชวนทุกคนร่วมการเดินทางในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาล บวกกับศักยภาพของประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อนวัตกรรมและการเติบโต นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถสร้างอนาคตที่เจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน และครอบคลุม เพื่อประโยชน์และความสำเร็จร่วมกัน
.
ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรียังประกาศถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกคน เพื่อมุ่งให้บรรลุความสำเร็จร่วมกัน และเน้นย้ำความพร้อมสู่การเปิดประตูต้อนรับการลงทุนในประเทศไทยจากต่างชาติ
.
เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post