
‘นลินี ทวีสิน’ เผย ไทย-อิตาลีพร้อมร่วมมือผลักดัน Soft power ด้านอาหารและการท่องเที่ยว ปลื้มอิตาลีชูไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาค สนใจลงทุนใน EEC ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่ง โลจิสติกส์และเทคโนโลยีดิจิทัล


‘นลินี ทวีสิน’ เผย ไทย-อิตาลีพร้อมร่วมมือผลักดัน Soft power ด้านอาหารและการท่องเที่ยว ปลื้มอิตาลีชูไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาค สนใจลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่ง โลจิสติกส์และเทคโนโลยีดิจิทัล
.
นางนลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยผลการหารือกับ นายเปาโล ดีโอนีซี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย เห็นพ้องร่วมกันว่าอาหารไทยและอิตาลีล้วนมีชื่อเสียงโดดเด่นและเอกลักษณ์รู้จักไปทั่วโลก จึงควรสร้างจุดขาย ผลักดันเป็น Soft power นอกจากนี้ประเทศอิตาลียังสนใจลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ ECC การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงสนใจเที่ยวบินตรง โรม-กรุงเทพฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวสองประเทศอีกด้วย
.
1.นางนลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย กล่าวภายหลังการหารือกับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย โดยไทยและอิตาลีเห็นตรงกันในการผลักดันเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ โดยใช้ Soft power ด้านอาหารเป็นจุดขาย เพราะทั้งไทยและอิตาลีต่างมีอาหารประจำชาติที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนแต่ละฝ่ายรู้จักอาหารของอีกฝ่ายมากขึ้น ในประเทศไทยนั้นมีร้านอาหารอิตาเลียนมากกว่าคนอิตาเลียน และอาหารอิตาเลียนก็ถูกปากคนไทย เช่นเดียวกับ
.
2. ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่า ทั้งประเทศอิตาลี และประเทศไทย ต่างมีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น มีชื่อเสียงระดับโลก จึงเป็นโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้น โดยฝ่ายไทยก็จะเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชิญชวนประชาสัมพันธ์ ให้คนอิตาเลียนมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น เพราะจากข้อมูลสถิติพบว่านักท่องเที่ยวชาวอิตาเลียนเดินทางมายังประเทศไทยน้อยกว่าที่คนไทยไปอิตาลีถึง 10 เท่า
.
3. สำหรับด้านการค้าการลงทุน อิตาลีเห็นว่า ไทยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคที่มีศักยภาพและน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งทางราง รถไฟความเร็วสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และการจัดหายุทโธปกรณ์ นอกจากนี้ อิตาลียังได้ผลักดันการจัดตั้งสภาธุรกิจทางอิตาลีเมื่อปี 2558 เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อโดยตรงระหว่างภาคเอกชน ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทสำคัญของไทยและอิตาลีเป็นสมาชิกกว่า 40 บริษัท อย่างไรก็ตามในภาพรวมนักลงทุนของอิตาลียังไม่คุ้นเคยกับการลงทุนในประเทศไทยมากนัก ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะต้องส่งเสริมในเรื่องนี้ และไทยก็สามารถใช้อิตาลีเป็นประตูสู่ยุโรปได้เช่นกัน โดยอิตาลีพร้อมสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น โลจิสติกส์ การส่งออก ความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นต้น
.
4. นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย ยังแสดงความสนใจเรื่องเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ – โรม ของสายการบินไทย เพราะจะช่วยให้การเดินทางของนักลงทุนนักท่องเที่ยวและประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
Facebook Comments