Digiqole ad

“นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช” เลขาธิการนายกรัฐมนตรี สรุปการทำงานของรัฐบาลที่นำโดย “นายเศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี

 “นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช” เลขาธิการนายกรัฐมนตรี สรุปการทำงานของรัฐบาลที่นำโดย “นายเศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี
Social sharing

Digiqole ad
จากนโยบายพรรค สู่นโยบายรัฐบาล ‘นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช’ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี สรุปการทำงานของรัฐบาลที่นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการผลักดันนโยบายไปสู่การดำเนินการเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ประเทศ พลิกฟื้นเศรษฐกิจและยกระดับชีวิตประชาชน
.
[ ประเทศไทยทรุดหนักสุด ฟื้นช้าสุด ]
1. สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศติดลบอย่างหนัก นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด19 เป็นต้นมา แม้ขณะนี้ดูเหมือนจะกระเตื้องขึ้นแต่ก็ยังไม่ถึงจุดเดิมก่อนมีการระบาด อีกทั้งวันนี้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านไปไกลกว่าเราแล้ว อีกหน่อยเราอาจอยู่ในสถานะที่ไม่ดีนักหากไม่ทำอะไรเลย จึงถึงจุดที่เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ รัฐบาลซึ่งก็มีหน้าที่รับผิดชอบทำให้เกิดการเจริญเติบโตของประชาชน
.
[ หนี้ครัวเรือนสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ]
2. ในส่วนของภาวะหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ช่วงก่อนเกิดการรัฐประหาร 2557 มีประมาณ 70% แต่ขณะนี้ไต่ระดับไปถึง 90% ที่บอกกันว่าเศรษฐกิจกำลังจะดีนั้นจะต้องพิจารณาแยกแยะว่าดีกับใคร วันนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องใหญ่ เราจึงเห็นเสียงความต้องการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนของคนแต่ละกลุ่ม
.
[ แก้ปัญหาด้วยการเพิ่มกำลังซื้อ ]
3. สำหรับปัญหาเงินเฟ้อ ในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา เปลี่ยนจาก 5% ลงมาเหลือ 0.3% ซึ่งความสามารถในการซื้อตกลงทั้งหมด ในด้านการเงินผู้ดูแลมีความจำเป็นจะต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่ง 9 เดือนมานี้ ขึ้นไปถึง 1 เท่าตัว จาก 1.25% เป็น 2.5% ซึ่งจะทำให้คนที่ลำบากอยู่แล้วและมีเงินกู้ มีมูลหนี้อยู่ จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการจ่ายดอกเบี้ย หน้าที่ของรัฐบาลจึงต้องดูว่าจะทำอย่างไรในการแก้ปัญหานี้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน ลดค่าพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า และต่อมาก็มีมาตการพักหนี้เกษตรกร แต่แค่นี้คงไม่พอเราจึงต้องกระตุ้นให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ ด้วยการทำให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่ม มีความต้องการสินค้าเพิ่ม มีกำลังซื้อเพิ่ม ซึ่งจะต้องมีการซื้อสินค้าเพิ่มโดยไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มอีก แล้วไปทำให้เกิดการจ้างงานที่ส่งผลไปถึงการบริโภคเพิ่ม ตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
.
4. รัฐบาลมองเห็นว่าเมื่อเราขยับแบบนี้จะทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจจะดีขึ้น และเรามั่นใจว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น
.
[ เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทเพื่อประโยชน์คนทุกกลุ่ม ]
5. สำหรับเงินจำนวน 1 หมื่นบาทสำหรับคนที่รายได้น้อยก็จะมีคุณค่ามาก อย่างพี่น้องเกษตรกรก็สามารถใช้เป็นต้นทุนการผลิต หรือคนรุ่นใหม่ก็สามารถเอาเงินก้อนนี้ไปรวมกันเพื่อเริ่มต้นกิจการสตาร์ทอัพได้ ซึ่งเราจะมีเงื่อนไขและการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มนิดหน่อย ส่วนคนที่มีรายได้สูงก็จะเป็นการจูงใจให้ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะเหมือนเขาได้ซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลง ดังนั้นจึงมั่นใจว่าเมื่อมีการใช้จ่ายแบบลักษณะนี้ก็จะเป็นการกระตุ้นรอบที่หนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตสินค้าและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นด้วน และการใช้จ่ายในทุกรอบก็จะเป็นทวีคูณ และที่สำคัญคือเราวางเงื่อนไขเอาไว้ว่าการใช้จ่ายนี้จะต้องกลับมาให้สามารถเก็บภาษีเข้ารัฐได้
.
[ เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท คือส่วนหนึ่งของทั้งชุดนโยบายฟื้นสร้างเศรษฐกิจลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ]
6. ที่สำคัญรัฐบาลไม่ได้ดำเนินนโยบายเฉพาะดิจิทัลวอลเล็ตมาตรการเดียว เพราะสิ่งที่รัฐบาลทำไปควบคู่กันคือการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และขยายโอกาสไปพร้อมกัน เรามีนโยบายส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ที่ให้สิทธิประชาชนทุกคนและทุกครัวเรือนสามารถสร้างรายได้ด้วยศักยภาพของตัวเอง ซึ่งเงินในส่วนของดิจิทัลวอลเล็ตก็จะเข้าไปส่งเสริมให้เขาสามารถเริ่มต้นได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมีโอกาสในการเติบโตได้
.
7. นอกจากนี้รัฐบาลยังพยายามหาตลาดใหม่ให้กับสินค้าไทย โดยนายกรัฐมนตรีเดินทางไปต่างประเทศเพื่อสร้างความเชื่อมั่น รวมไปถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ดึงเงินจากข้างนอกเข้ามาในประเทศ รวมไปถึงการลงทุนที่นายกรัฐมนตรีได้พบปะกับนักธุรกิจระดับโลก และเร่งรัดการแก้ไขข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจและการลงทุน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ยืนยันว่าเรากำลังดำเนินการในหลายมิติไปพร้อมกัน
.
8. นายแพทย์พรหมินทร์ ยกตัวอย่าง ก่อนหน้านี้มี สส. เพชรบูรณ์ ท่านหนึ่งได้มาสอบถามถึงกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่มาพูดคุยเรื่องระยะทางการใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งระยะทาง 4 กิโลเมตรในหมู่บ้านเขามีร้านค้าเพียงแค่ 2 ร้านเท่านั้น ผู้ใหญ่บ้านเลยคิดร่วมกับชาวบ้านว่าถ้าเอาเงินมารวมกันแล้วตั้งเป็นร้านค้าของหมู่บ้าน ไปจดทะเบียนการค้าและซื้อของมาขายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านริเริ่มกันเอง ทำให้รัฐบาลยิ่งเชื่อมั่นในศักยภาพของประชาชนที่จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้
.
[ รับฟังข้อวิจารณ์ พร้อมปรับปรุง เพื่อประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ]
9. สำหรับข้อวิจารณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเราก็รับฟังทุกประโยค และพร้อมที่จะนำไปพิจารณาปรับปรุงเพื่อให้ประโยชน์สูงสุดเกิดขึ้นกับประชาชน แต่จะต้องเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่า ดิจิทัลวอลเล็ตไม่ใช่สกุลเงินใหม่ เพียงแต่แทนที่จะจ่ายเป็นธนบัตร เราใช้การจ่ายเป็นระบบใหม่ที่เรียกว่าดิจิทัลวอลเล็ตเท่านั้น เพื่อให้เราสามารถสร้างเงื่อนไขให้เกิดการใช้จ่ายและต้องใช้ให้หมดในระยะเวลาที่กำหนด
.
10. ส่วนที่มีผู้มองว่าสถานการณ์ขณะนี้ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจและควรลงทุนภาครัฐมากกว่านั้น เราไม่ได้ละเลยการลงทุนภาครัฐแต่อย่างไร แต่เราพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเลือกตัวที่จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากที่สุด โดยไม่ทำอย่างสะเปะสะปะ และอะไรที่จำเป็นต่อสถานการณ์เราก็ต้องทำโดยไม่ได้ละเลยใดๆ แล้วใช้การบริหารจัดการให้สามารถมีงบประมาณมาใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด
.
11. รัฐบาลรับฟังทุกเสียงสะท้อน ความเห็นและข้อห่วงใยต่างๆ เราจะนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่ในสถานการณ์ที่คนกำลังจะจมน้ำ เราพยายามทำให้มีทุ่นให้เขาเกาะและได้ขึ้นมาหายใจและมีกำลังมากขึ้น
.
[ ประเทศและประชาชนคนไทยมีศักยภาพ]
สถาบันการเงินในสวิสฯ ชี้ เงินดิจิทัล ไม่กระทบ Credit Rating]
12. สำหรับข้อกังวลเรื่องความเสี่ยงต่างๆ นั้น นายแพทย์พรหมินทร์ มองว่า ถ้าเรามีเสถียรภาพแต่ถูกขังอยู่ในสภาพเก่าแบบนี้ ขณะที่คนอื่นกำลังเดินหน้าอยู่ เราก็อาจจะไปต่อไม่ได้ และอาจถูกทำให้เป็นคนจนถาวร ซึ่งเราไม่อยากให้ประเทศอยู่ในสภาพนั้น เพราะประเทศและประชาชนคนไทยมีศักยภาพอยู่อีกมาก
.
13. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยด้วยว่า เมื่อวานนี้ (10 ตุลาคม 2566) มีเอกสารฉบับหนึ่งออกมาจากสถาบันการเงินใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ (UBS) ยืนยันชัดเจนว่า เรื่องดิจิทัลวอลเล็ต ในสายตาเขาไม่มองว่าจะเกิดผลกระทบกับ Credit Rating ซึ่งเรายืนยันในการรักษาระเบียบวินัยการเงินการคลังได้ดีที่สุด และมั่นยึดเรื่องนี้เป็นอันดับแรกมาตลอด เรามุ่งมั่นให้มีการเติบโตอย่างรอบคอบ
.
[ ในอดีตไทยรักไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์ในการดำเนินนโยบายแต่นโยบายนั้น ก็ยังสร้างประโยชน์ให้ประชาชนจนถึงทุกวันนี้ ]
14. นายแพทย์พรหมินทร์ ยกตัวอย่าง ในอดีตสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์ในการดำเนินนโยบายอย่างมาก แต่ก็ผ่านมาได้ และหลายนโยบายยังสร้างประโยชน์ให้ประชาชนจนถึงทุกวันนี้ “เมื่อปี 2540 ประเทศไทยเคยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ประเทศเกือบล้มละลาย ต้องไปกู้หนี้มาจากไอเอ็มเอฟ แต่ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทำนองเดียวกันนี้ ประกอบกับการรักษาระเบียบวินัยการเงินการคลัง ทำให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤตมาได้ เพราะเราเชื่อในการสร้างรายได้ทุกกลไก จึงสามารถคืนหนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนดถึง 2 ปี” อาทิ…
.
– โครงการกองทุนหมู่บ้าน ในยุคนั้นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องเอาเงินมาแจก แต่รัฐบาลไทยรักไทยตอนนั้นทำควบคู่กับ OTOP และการส่งเสริมเอสเอ็มอี รวมทั้งมีมาตรการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งทุกนโยบายดำเนินการไปโดยเชื่อมโยงกันทั้งหมด และในครั้งนี้เรามีดิจิทัลวอลเล็ต และมีซอฟต์พาวเวอร์ที่จะปลดปล่อยศักยภาพคนไทย ที่จะสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างงานมหาศาลและมีพักหนี้เช่นกัน ก็จะทำให้โอกาสต่างๆ มีมากขึ้น
.
– ตอนที่รัฐบาลไทยรักไทยดำเนินการเรื่องกองทุนหมู่บ้าน ต้องใช้งบประมาณในการทำโครงการ 7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นประมาณ 7% ของงบประมาณ แต่ปรากฎว่าเมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้วไม่มีงบประมาณให้ใช้ ก็เลยต้องไปขอกู้จากธนาคารออมสินตามที่มีผู้เสนอแนวทาง ซึ่งเราได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยตามระยะ ซึ่งในที่สุดก็จ่ายหนี้ได้ครบและกองทุนหมู่บ้านก็เป็นกลไกหนึ่งที่สร้างเศรษฐกิจของประชาชนได้
.
– รัฐบาลไทยรักไทยดำเนินโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคในช่วงแรกก็มีการวิจารณ์อย่างหนัก แต่ต่อมาก็พิสูจน์ว่าเป็นประโยชน์กับประชาชน และมีผู้สนับสนุนจำนวนมาก และเราก็กำลังกลับมายกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรคอีกครั้ง
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post