Digiqole ad

“ธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์” สส.พรรคเพื่อไทย พูดถึงโครงการแลนด์บริดจ์

 “ธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์” สส.พรรคเพื่อไทย พูดถึงโครงการแลนด์บริดจ์
Social sharing

Digiqole ad
นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ สส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘กรรมกรข่าว คุยนอกจอ’ เกี่ยวกับโครงการแลนด์บริดจ์ ว่าการทำงานของกรรมาธิการคือการพิจารณาว่าโครงการดังกล่าวจะเกิดผลอย่างไร ซึ่งได้เชิญทุกภาคส่วนเข้ามาชี้แจงเรียบร้อยแล้ว ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีมีความตั้งใจผลักดันโครงการนี้ จึงได้เดินสายสร้างความเชื่อมั่นเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก มั่นใจว่าโครงการนี้จะสำเร็จ ยกระดับเศรษฐกิจไทยและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน
.
1. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการและได้ให้คำตอบตามข้อมูลที่มีหมดแล้ว รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงมีการแจ้งในที่ประชุมว่าจะขอมติรับรองรายงานในวันที่ 12 มกราคม ตามกรอบระยะเวลาที่ได้มา 90 วัน ซึ่งในที่ประชุมก็ไม่ได้มีการคัดค้าน อีกทั้งยังมีกรรมาธิการซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการของ สนข. ตอบคำถามที่มีเพิ่มเติมในที่ประชุม แต่บางคำถามอาจอยู่นอกเหนือจากการศึกษาในครั้งนี้
.
2. หน้าที่ของคณะกรรมาธิการ คือการดูว่าโครงการที่รัฐบาลทำจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไรในประเทศ ดังนั้น เราจึงเชิญทุกภาคส่วนให้คำชี้แจง ทั้งสภาพัฒน์ สนข. ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการเดินเรือ สมาคมเดินเรือ พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ถ้าหากเกิดการลงทุนขึ้นจริง เศรษฐกิจในภาคใต้จากที่เดิมทีพี่น้องทำแต่เกษตรจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องไปฟังว่าพี่น้องจะได้รับผลกระทบอย่างไรและจะต้องเยียวยาชดเชยอย่างไร สภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ ทางหน่วยงานจะเข้ามาฟื้นฟูอย่างไร ซึ่งเป็นประเด็นหลักของกรรมาธิการ
.
3. สำหรับขอบเขตการศึกษาขณะนี้ ทาง สนข. เป็นแม่งานเน้นดูการวางโครงสร้างทางคมนาคมว่าจะใช้ระบบการขนส่งประเภทใด จึงจะมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง
สำหรับในแง่ของการคืนทุน การที่ สนข. คาดว่าจะคืนทุนใน 24 ปี เป็นข้อมูลที่ศึกษาก่อนหน้านี้และได้ใส่ประกอบรายงาน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะต้องมีการขนถ่ายสินค้าทางเรือมากขึ้น จึงเห็นโอกาสและลงมือก่อนเพื่อไม่ให้เสียโอกาส ส่วนความคิดเห็นต่างๆ ก็มีประโยชน์ในการไปปรับปรุงต่อไป
.
4. ทั้งนี้ด้วยสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน การดำเนินการจึงต้องมีความยืดหยุ่น แต่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน การออกแบบสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยเราตั้งใจจะทำให้เกิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นเส้นทางคมนาคมทางเรือที่มีประสิทธิภาพ มีนวัตกรรมที่ยกคอนเทนเนอร์ออกจากเรือ มีระบบ Automation โดยจะมีการศึกษาเพิ่มขึ้นไปอีกเพื่อให้คุ้มค้าต่อการลงทุนมากที่สุด
.
5. ในวันนี้เราต้องการให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ฉะนั้นจึงต้องการเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ประเทศจะเดินหน้าอย่างก้าวกระโดดหลังจากที่เราประสบปัญหาวิกฤตหลายด้านทั้งเศรษฐกิจและการขาดความเชื่อมั่น โครงการแลนด์บริดจ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รัฐบาลยกขึ้นมาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และยังมีโครงการอื่นในภาคอื่นที่เราศึกษาทำงานควบคู่กันไป
.
6. นายกรัฐมนตรีได้ไป Roadshow โครงการขนาดใหญ่ 1 ล้านล้าน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ต่างชาติและนักลงทุนว่า รัฐบาลมีความตั้งใจให้โครงการสำเร็จ ให้เห็นภาพอนาคตว่าจะมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและเป็นพื้นที่สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศหรือระดับทวีป รวมถึงนักลงทุนจะได้ประโยชน์อย่างไร ซึ่ง ณ ขณะนี้ก็มีผู้สนใจจากต่างประเทศเข้ามาดูพื้นที่แล้วบ้าง ในระนองก็มีการก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน เพราะอาจคาดการณ์ว่าโครงการจะเกิดขึ้นแน่
.
7. นอกจากจุดประสงค์พื้นฐานของแลนด์บริดจ์จะเป็นการร่นระยะเวลา เรายังจะมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายเพื่อดึงดูดการขนส่งสินค้าที่แลนด์บริดจ์ อีกทั้ง เรือส่งสินค้ายังสามารถมาขนถ่ายสินค้าหรือขนสินค้าอื่นเพิ่มเติมจากภูมิภาคอื่น ซึ่งมาอยู่ที่แลนด์บริดจ์ที่จะเป็นศูนย์กลางสินค้าของภูมิภาค พื้นที่ในไทยจะเป็นแหล่งการผลิตและอุตสาหกรรมซึ่งจะมีสินค้าส่งออกเพิ่มเติมด้วย
.
8. โฆษกคณะกรรมาธิการ กล่าวทิ้งท้ายว่า พอเป็นรัฐบาลนี้ เราเชื่อมั่นว่าจะสำเร็จ เราสามารถทำโครงการที่ใหญ่และยากได้ ซึ่งต้องการความคิดแบบนักบริหาร อยากให้ทุกคนได้รู้ว่ารัฐบาลมีความตั้งใจจริง ในหลายโอกาสที่นายกรัฐมนตรีมีโอกาสไปประชุม ถ้าเราไม่ถือโอกาสนี้ไปพูดคุย ก็ไม่ได้ใช้โอกาสนี้เพื่อให้มีการลงทุนเกิดขึ้นในประเทศ เมื่อเรามีข้อมูลว่าโอกาสอยู่ข้างหน้า เราจะเดินไปคว้าและทำให้สำเร็จ ด้วยการสนับสนุนของทุกคน เหมือนกับสิ่งที่ยากๆ ที่พรรคเพื่อไทยเคยทำมาในอดีต
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post