Digiqole ad

ที่ประชุมสภาผู้แทนฯ มีมติ “ไม่รับหลักการ” ร่างข้อบังคับ #สภาก้าวหน้า ที่เสนอโดย “พริษฐ์ วัชรสินธุ” สส.พรรคก้าวไกล ด้วยคะแนนเห็นด้วย 158 เสียง ไม่เห็นด้วย 233 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง

 ที่ประชุมสภาผู้แทนฯ มีมติ “ไม่รับหลักการ” ร่างข้อบังคับ #สภาก้าวหน้า ที่เสนอโดย “พริษฐ์ วัชรสินธุ” สส.พรรคก้าวไกล ด้วยคะแนนเห็นด้วย 158 เสียง ไม่เห็นด้วย 233 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง
Social sharing

Digiqole ad
วันนี้ (14 ธ.ค.) ที่ประชุมสภาผู้แทนฯ มีมติ “ไม่รับหลักการ” ร่างข้อบังคับ #สภาก้าวหน้า ที่เสนอโดยพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ด้วยคะแนนเห็นด้วย 158 เสียง ไม่เห็นด้วย 233 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง
.
แม้ผลการโหวตเช่นนี้ อาจไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายในสภาพปัจจุบันที่พรรคก้าวไกลมีเสียงน้อยกว่าในสภา แต่ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่สภาผู้แทนฯ ไม่ได้ใช้โอกาสนี้ในการพิสูจน์ต่อประชาชน ว่าแม้ สส. แต่ละพรรคการเมือง อาจมีบทบาทหรือจุดยืนทางการเมืองหลายเรื่องต่างกัน
.
แต่กับบางเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผลักดันความก้าวหน้าให้งานสภา ซึ่งควรจะเป็นจุดร่วมที่ทุกพรรคการเมืองต้องการตรงกัน “ผู้แทนประชาชน” ไม่ว่าจากพรรคไหน ก็ควรร่วมกันผลักดัน ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้
.
น่าเสียดายที่ภาพเช่นนั้น ไม่เกิดขึ้นในวันนี้
.
อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวไกลเชื่อว่าการเสนอร่างข้อบังคับสภาก้าวหน้า แม้ยังไม่สำเร็จในวันนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้น ปักธงความคิดในสังคม เบิกทางไปสู่ปลายทางที่เราอยากเห็นร่วมกันในอนาคต นั่นคือสภาไทยที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และเชื่อมโยงประชาชน
.
และนี่คือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับสภา หากร่างข้อบังคับสภาก้าวหน้า ได้นำไปบังคับใช้
.
ข้อเสนอหลักของร่างข้อบังคับ “สภาก้าวหน้า” มี 9 ข้อต่อไปนี้:
.
.
ยกระดับ “ประสิทธิภาพ”
1. สภาฉับไว:
– ตัดกลไกที่ทำให้การพิจารณากฎหมายล่าช้าโดยไม่จำเป็นผ่านการ:
– (i) เพิ่มความชัดเจนเรื่องกรอบเวลาที่นายกฯมี ในการพิจารณาว่าจะรับรองให้กฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯหรือไม่ โดยใช้หลัก “auto approve” (หากนายกฯยังไม่ตัดสินใจปัดตกร่างภายใน 30 วัน หรือตามกรอบเวลาที่กำหนด ให้ถือว่านายกฯรับรองให้เข้าสู่การพิจารณาในสภาฯได้โดยอัตโนมัติ)
– (ii) ปิดช่องไม่ให้ ครม. นำกฎหมายที่กำลังจะลงมติกันในสภาฯในวาระที่ 1 ออกไปศึกษาเพิ่มเติมหรือ “ดอง” ได้ 60 วันก่อนจะกลับมาพิจารณาและลงมติกันใหม่ (เนื่องจาก ครม. มีเวลาอย่างน้อย 30 วันอยู่แล้วในช่วงที่ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ)
2. สภามีความหมาย:
– เพิ่มกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี ที่เปิดให้มีการถาม-ตอบระหว่างนายกฯกับผู้นำฝ่ายค้านและ สส.คนอื่น โดยตรง 1 ครั้ง/สัปดาห์ (อ้างอิงวาระ “Prime Minister’s Questions” ของสภาฯในหลายประเทศ – ตัวอย่างจากสหราชอาณาจักร: https://youtube.com/watch?v=U5-huwwo0f4)
3. สภาเข้มแข็ง:
– กำหนดให้คณะกรรมาธิการสามัญที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ (ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ / ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ / กิจการสภาผู้แทนราษฎร) มีประธานเป็น สส. ฝ่ายค้าน (แต่เสนอให้เพิ่มในบทเฉพาะกาลในชั้นกรรมาธิการว่า ให้ข้อนี้ยังไม่ถูกบังคับใช้กับสภาฯชุดปัจจุบัน เพื่อไม่ให้กระทบข้อตกลงระหว่างพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นแล้ว โดยให้เริ่มบังคับใช้ในสภาฯชุดถัดไป)
.
เพิ่มความ “โปร่งใส”
4. สภาเปิดเผย:
– ปลดล็อกให้การประชุมคณะกรรมาธิการมีการถ่ายทอดสดออนไลน์ (ยกเว้นที่ประชุมมีมติงดการถ่ายทอดสดเป็นรายกรณี)
– เปิดข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมสภา (เช่น รายงานการประชุม สถิติการเข้าประชุมรายคน สถิติการลงมติรายคน) ในรูปแบบที่วิเคราะห์ต่อได้ (machine readable)
5. สภาดิจิทัล:
– ปรับให้การส่งเอกสารภายในต่างๆให้กับสมาชิก ดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
– จัดทำระบบติดตามสถานะและความคืบหน้าของร่างกฎหมายทุกฉบับที่ถูกเสนอต่อสภาฯ
– จัดทำระบบติดตามสถานะและความคืบหน้าของทุกเรื่องที่ถูกปรึกษาหารือในสภาฯและคำชี้แจงหรือคำตอบกลับจากหน่วยงาน
.
รับประกันความ “เป็นธรรม”
6. สภายุติธรรม:
– ลดดุลพินิจประธานสภาฯในการวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติด่วน โดยกำหนดให้ประธานสภาฯออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่าเรื่องอะไรเป็นเรื่องด่วน ซึ่งสภาฯเห็นชอบและเปิดให้มีการทบทวนทุก 1 ปี เพื่อให้ใช้เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยที่เป็นธรรมที่สุดกับทุกฝ่าย
7. สภาเสมอภาค:
– กำหนดไม่ให้มีการอภิปรายที่ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม เป็นต้น
.
.
เชื่อมโยง “ประชาชน”
8. สภาประชาชน:
– เปิดให้ประชาชน 5,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอญัตติให้สภาพิจารณา (จากปัจจุบันที่เปิดให้เฉพาะประชาชน 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ)
– กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติที่ถูกเสนอโดยประชาชน ถูกนับเป็นเรื่องด่วนที่จะถูกพิจารณาเร็วขึ้น (fast track)
9. สภาสากล:
– กำหนดให้มีการแปลทุกพระราชบัญญัติที่สภาฯเห็นชอบเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นคลังข้อมูลในการสื่อสารกับประชาคมโลก
.
ที่มา : เพจพรรคก้าวไกล
Facebook Comments


Social sharing

Related post