Digiqole ad

ทวงคืนคุณภาพชีวิตเจ้าตัวเล็ก How to ดูแลสุขภาพเด็กยุค New Normal

 ทวงคืนคุณภาพชีวิตเจ้าตัวเล็ก How to ดูแลสุขภาพเด็กยุค New Normal

Educational pastime develop creativity skill in kid concept. Asian mother her small daughter lying on warm wooden floor in sunny cozy living room, mom teach girl paint use album and colourful pencils

Social sharing

Digiqole ad

เพราะ COVID-19 ที่ระบาดมานานนับปี ลูกๆ ของเราสูญเสียโอกาสในการใช้ชีวิตไปมาก ทั้งจากการไม่ได้ไปเรียนหนังสือแบบครบวงจรที่โรงเรียน ได้เจอเด็กๆ รุ่นเดียวกันน้อย ขาดการเรียนรู้จากโลกภายนอกแทบจะสิ้นเชิงไม่นับรวมการต้องมาคอยใส่หน้ากากอนามัยและระมัดระวังอะไรที่มากเกินวัย

ความท้าทายในบทบาทของคุณพ่อคุณแม่ ณ  ขณะนี้ คือการดูแลให้ลูกมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ออกจากบ้านไม่ได้ ก็ทำให้ร่างกายแข็งแรงตั้งแต่ในบ้าน

แม้การใช้เวลาอยู่ที่บ้าน ไม่ได้ไปโรงเรียนจะส่งผลกระทบกับการเรียนรู้บ้าง แต่ในด้านการดูแลสุขภาพกาย นายแพทย์ฐากูร วิริยะชัย จากศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลวิมุตมองว่าผู้ปกครองอาจต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในช่วงนี้

“ในเรื่องสุขภาพกายของลูกอยากให้มองว่าพอทำ Social Distancing แล้ว โรคติดต่อจากคนสู่คนที่ลูกเรามักจะไปเอามาจากโรงเรียน เช่น โรคหวัด ท้องเสีย มันก็จะน้อยลงไปโดยปริยาย แต่เรื่องการรับประทานอาหาร การนอนของเขา คำแนะนำที่ดีที่สุดคือให้พยายามคงกิจวัตรเดิมไว้ก่อนครับ ทำกิจวัตรที่ทำเป็นประจำเหมือนช่วงเวลาปกติให้ได้มากที่สุด เช่น ทานอาหารให้เป็นเวลา ทานอาหารให้ครบห้าหมู่  เข้านอนให้เพียงพอเหมือนเดิม การไปออกกำลังกายนอกบ้านมันมีผลกับภูมิคุ้มกันบ้างแต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักขนาดนั้น”

ถ้าเข้าใจพัฒนาการ-ไม่ได้เล่นนอกบ้านก็พอสร้างได้

“การไม่ได้ออกไปเล่นนอกบ้านมันกระทบกับพัฒนาการของเด็กแน่ๆ แต่เด็กในแต่ละวัยก็จะรับผลกระทบต่างกันแล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจหมอว่ามันก็พอจะรับมือได้ เช่นวัยทารก (infant) อาจจะได้รับผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆเพราะเขาพึ่งพาคนในบ้านเป็นหลักอยู่แล้ว แต่วัยเตาะแตะก่อนเข้าเรียน(Toddler) นี่ผลกระทบจะเริ่มมากขึ้นเพราะเขามีกิจกรรมนอกบ้านอยู่บ้าง ดังนั้นในบริเวณรอบตัวบ้าน หากมีพื้นที่เปิดโล่งหมอยังแนะนำให้ทำกิจกรรมนอกบ้านได้อีกประเด็กหนึ่งคือเด็กวัยนี้เริ่มจะมีความคิดเป็นของตัวเองแล้ว เขารับรู้ความเปลี่ยนแปลงว่าไม่ได้ออกจากบ้านเหมือนเดิมได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยเขาในมุมนี้ รับฟังเขามากขึ้น ชวนเขาเล่นมากขึ้น อย่างการวาดภาพระบายสีนี่แนะนำให้ทำ เพราะดีต่อพัฒนาการและทำให้เขาได้ระบายความรู้สึกเครียดออกมา

พอเป็นเด็กวัยประถมเขาจะเริ่มมีหลักการมากขึ้นมีความคิดมากขึ้น ต้องการการเข้าสังคมมากขึ้น กลุ่มนี้เราสามารถใช้แอปพลิเคชั่นมาช่วยเขาได้ เช่น Facetime หรือ Line กับเพื่อนๆที่โรงเรียนก็ให้ใช้ได้บ้าง ซึ่งจริงๆ แอปพลิเคชั่นที่ใช้คุยกันแบบคนต่อคน real time เหล่านี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมาดูแลเรื่อง Screentime ด้วยเช่นกัน”

เผชิญโควิดนานๆลูกอาจมีสัญญาณความเครียดให้เห็นได้

“สิ่งที่ทั่วโลกกำลังสนใจคือความเครียดในเด็กที่เกิดจากภาวะโควิด เพียงแต่เขาจะตอบสนองไม่เหมือนกัน เพราะเด็กๆ ก็ไม่ใช่หุ่นยนต์ สัญญาณที่จะเจอได้ก็เช่น ในเด็กเล็กๆ จะมีอาการ Withdrawal คือ ถอนออกไปเลย อยู่ดีๆ ก็ไม่ชอบสิ่งที่เคยชอบ ไม่เล่น ไม่กิน สิ่งที่ชอบมาก่อนหน้านี้ อีกอย่างคือ ความกลัวกับความกังวล กลัวสิ่งที่ไม่เคยกลัวมาก่อนหรือคอยถามผู้ใหญ่ซ้ำๆ เหมือนคนที่มีความกังวลอยู่ เช่น ทำไมพ่อไม่กลับบ้าน คุณยายหายไปไหน เป็นต้น

กลับกันในเด็กที่โตขึ้น เขาจะเริ่มมีอารมณ์ฉุนเฉียว บางคนจะสะท้อนออกมาทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ซึ่งอันนี้เขาไม่ได้แกล้งทำนะครับ มันกระทบจากความเครียดของเขาจริงๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตและรับฟังเขา ถ้ารุนแรงก็สามารถปรึกษากุมารแพทย์ได้เช่นกัน”

วัคซีนในเด็กตามช่วงวัยนั้นเป็นเรื่องสำคัญแพทย์แนะนำไม่อยากให้ขาดวัคซีนแม้ช่วงนี้จะออกจากบ้านลำบาก

“วัคซีนในช่วงขวบปีแรกคือ 0 – 1 ปี คือวัคซีนพื้นฐานที่หมอแนะนำว่าควรฉีดให้ครบตามนัดครับ วัคซีนเหล่านี้ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอในช่วง 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ในช่วง 9 เดือนจะมีหัดเยอรมันคางทูมเพิ่มอีกเข็ม จากนั้นพอครบขวบก็จะมีวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่นอีกเข็ม โรคเหล่านี้เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่หากรับวัคซีนในช่วงปีแรกครบภูมิคุ้มกันมักจะมีเพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อโดยหลังจากอายุ 1 ปี วัคซีนส่วนมากจะเป็นเข็มกระตุ้น หมอว่าพวกนี้สามารถหาเวลามารับตามความเหมาะสมได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาลวิมุตได้เช่นกัน เรามีแพ็กเกจทั้งวัคซีนภาคบังคับและภาคเสริม รวมถึงสถานที่ที่โรงพยาบาลเองก็ปลอดภัยมากๆ ครับ ไม่แออัด สะดวกสบาย และที่ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลวิมุตเข้าใจถึงความกังวลของผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ ที่ไม่อยากจะมาโรงพยาบาลถ้าไม่จำเป็นในช่วงนี้  ทางโรงพยาบาลและศูนย์กุมารเวชกำลังปรับช่องทางการเข้าถึงศูนย์ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น และลดความกังวลของคนไข้ โดยกำหนดช่องทางการเดินทางไปยังศูนย์กุมารเวช แยกออกจากพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดการพบเจอคน ทั้งนี้ยังมีมาตรการมาตรฐานการฆ่าเชื้อโรค และเชื้อโควิด-19และเน้นหนักในการทำความสะอาดพื้นที่ และทุกพื้นผิวสัมผัสในศูนย์กุมารเวช เพื่อให้เด็กๆปลอดภัยมากยิ่งขึ้นครับ”

Happy family on summer walk! Mother, father and daughter walking in the Park and enjoying the beautiful nature.

ขอชัดๆ ให้แน่ใจลูกไม่สบายแค่ไหนถึงต้องไปพบแพทย์

“อาการไข้ในเด็กส่วนมากเกิดจากติดเชื้อไวรัสครับและไวรัสส่วนใหญ่ร่างกายสามารถจัดการกับเชื้อเอง อาจจะ 3-5 วันขึ้นกับหลายๆปัจจัย แต่ปัญหาหลักๆคือระหว่างที่ร่างกายกำลังจัดการไวรัสเด็กบางคนอาจจะเบื่ออาหาร กินไม่ค่อยได้จนร่างกายขาดน้ำ และสารอาหาร คุณพ่อคุณแม่ อาจสังเกตได้จากการปัสสาวะน้อยลง กับอีกกรณีคือไข้ลดลงช้าเช่นผ่านมา 3 วันแล้วลูกยังมีไข้อยู่เลย แบบนี้อยากให้มาโรงพยาบาลครับเนื่องจากอาจต้องระวังภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆ ในส่วนของโควิดกับหวัดธรรมดาในเด็กก็แยกได้ยากครับ ถ้ามีอาการกำกวมก็อยากให้ถึงมือแพทย์ผู้ชำนาญการทันที”

อย่าลืมว่าชีวิตวัยเด็กมันผ่านไปไวมากๆ ในทุกขวบปี แม้โรคโควิด-19ยังอยู่และได้ตัดทอนช่วงเวลาดีๆ ในชีวิตลูกเราไปถึง 2 ปีแล้ว โรงพยาบาลวิมุตและทีมแพทย์เฉพาะทางกุมารแพทย์ ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนและพร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแล และช่วยคุณพ่อคุณแม่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ลูกทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และพัฒนาการของลูกในทุกช่วงวัย

และหากต้องการรับการดูแลจากแพทย์ผู้ชำนาญการ โรงพยาบาลวิมุตยินดีให้บริการเจ้าตัวเล็กของทุกบ้านเสมอติดต่อนัดหมายศูนย์กุมารเวช ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต โทร. 02 079 0038 หรือ Call Centerโทร. 02 079 0000หรือ Line OA Vimut Hospital…ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิมุต อีกระดับของการรักษาด้วยความใส่ใจ

Educational pastime develop creativity skill in kid concept. Asian mother her small daughter lying on warm wooden floor in sunny cozy living room, mom teach girl paint use album and colourful pencils
Happy Asian young mother and daughter playing with abacus, early education at home.
Facebook Comments


Social sharing

Related post