Digiqole ad

ถก “บุหรี่ไฟฟ้า-บุหรี่ปกติ” พรรคก้าวไกล ประกาศจะทำการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

 ถก “บุหรี่ไฟฟ้า-บุหรี่ปกติ” พรรคก้าวไกล ประกาศจะทำการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
Social sharing
Digiqole ad
จากกรณีที่เมื่อวันที่ 29 พ.ค.66 ทางทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้จัดการโครงการเครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ ได้แสดงความคิดเห็นในงานเสวนา NONO WANNA KNOW SHORT FILM & LIVE TALK เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกประจำปี 2566 โดยกล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีนักสูบหน้าใหม่สนใจบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งๆ ที่อันตรายไม่ต่างจากบุหรี่มวน ทั้งนี้จึงควรมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ากันอย่างเข้มงวด โดยจะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถที่จะเข้ามาทดแทนบุหรี่ธรรมดาได้ เพราะว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 ครั้ง เท่ากับสูบบุหรี่ปกติ 4 มวน ถือว่าอันตรายกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา และไม่ใช่ทางเลือกในการช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดา ทันตแพทย์ ถือเป็นคนแรกที่เห็นรอยโรค รอยเนื้อเยื่อในปากที่อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้
ล่าสุด บก.ลายจุด-นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และหมอเอก หรือนายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ อดีต ส.ส.เชียงราย เขต1 ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยถึงที่มากรณีที่เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ออกมากล่าวอ้างว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 ครั้ง เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ปกติ 4 มวน และอ้างว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา ด้านชาวเน็ตแห่แสดงความคิดเห็น รัฐควรรีบทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพื่อควบคุมมาตรฐาน เก็บภาษีเข้ารัฐ และป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน

โดย บก.ลายจุด กล่าวว่า “อยากรู้ว่า 4 เท่าที่ว่าเป็นสารอะไรครับ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีการสันดาป สารเคมีจึงน้อยกว่ามากมายมหาศาล สังเกตว่าคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่มีอาการเมาแบบที่สูบบุหรี่จริง ดังนั้นผมอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม”

นอกจากนี้นายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎร เชียงราย เขต 1 ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวในทวิตเตอร์เช่นกันว่า “จริงเหรอครับ อ้างอิงข้อมูลจากไหน”

นอกจากชาวเน็ตจำนวนมากได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ควรรีบทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพื่อควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์และปริมาณนิโคติน รวมถึงทำให้สามารถจัดเก็บภาษีเข้ารัฐได้ นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ทวิตเตอร์บางรายกล่าวเปรียบเทียบงานวิจัยในต่างประเทศและประเทศไทยว่า “คิดว่ามันคือการอุปโลกน์ขึ้นมา เพื่อใช้กฎหมายต่อผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ทำให้ภาพลักษณ์ดูอันตราย แล้วเรียกเก็บส่วย เก็บภาษีค่าปรับ ทำไมผลวิจัยจากประเทศอังกฤษมอง vape เป็นแง่บวก แต่ข้าราชการบ้านเราที่วิจัยเอาแต่ด้านลบมาลง”

ด้านกลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) เจ้าของเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ได้แสดงความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์เช่นกันว่า ทางกลุ่มได้รณรงค์บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายมาหลายปี และยืนยันว่าการไม่ต้องจุดไฟเผาทำให้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีงานวิจัยมากมายรองรับ และเน้นย้ำว่าการนำมาควบคุมบนดินจะทำให้ควบคุมคุณภาพมาตรฐานของน้ำยาและอุปกรณ์ต่างๆได้

ในเรื่องของอันตรายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเทียบกับการสูบบุหรี่มวนนั้น ได้มีการศึกษาและวิจัยโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ (Office for Health Improvement and Disparities) ได้รายงานว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน หรือจะเป็นการที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของนิวซีแลนด์ออกมาสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ในส่วนของประเทศไทย เหล่าสิงห์อมควันต่างก็เฝ้าจับตาความเคลื่อนไหวหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งปี 66 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ซึ่งหากอิงจากนโยบายที่พรรคก้าวไกล พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ได้ประกาศไว้ผ่านเว็บไซต์ว่า จะทำการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย อาจเป็นสัญญาณอันดีว่าประเทศไทยจะขยับเขยื้อนและใช้แนวทางที่มีความเป็นสากลยิ่งขึ้น และคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านสุขภาพ รายได้ภาษี การป้องกันการเข้าถึงของเยาวชน สิทธิในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่อันตรายน้อยกว่า หรือการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

ที่มา: https://twitter.com/nuling/status/1663744135218749445?s=20
ที่มา: https://twitter.com/DoctorEkk/status/1663912436301266949?s=20
ที่มา: https://twitter.com/ThaiVapers_ECST/status/1663847603036123139?s=20

Facebook Comments

Related post