Digiqole ad

ต้องไม่มีใครถูกพรากชีวิตเพราะสูดอากาศหายใจ ถึงเวลาแก้ฝุ่นพิษที่ต้นตอ คนก่อต้องรับผิดชอบ

 ต้องไม่มีใครถูกพรากชีวิตเพราะสูดอากาศหายใจ ถึงเวลาแก้ฝุ่นพิษที่ต้นตอ คนก่อต้องรับผิดชอบ
Social sharing

Digiqole ad
ด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ อาจทำให้คนบางกลุ่มสามารถซื้อบางสิ่งเพื่อจะได้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า แต่นั่นไม่ใช่กับ “อากาศ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคน ไม่ว่ายากดีมีจน ต้องสูดเข้าร่างกายทุกวัน ไม่มีทางหลีกเลี่ยง
.
หลายปีที่ผ่านมา “อากาศบริสุทธิ์” ที่เคยเป็นของฟรีจากธรรมชาติ กลับกลายเป็นของหายาก เมื่อหลายจังหวัดของประเทศไทยเผชิญปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 อย่างหนัก กระทั่งวันนี้ยังไม่มีวี่แววว่าปัญหาจะสิ้นสุด
.
😢ปีที่แล้ว รายงาน IQAir 2022 ระบุว่าค่าฝุ่น PM2.5 ในไทยพุ่งสูงที่สุดในเดือนมีนาคม และทั้งปีประเทศไทยมีอากาศดีแค่ 3 เดือน คือช่วงมิถุนายน – สิงหาคม
😢ต้นปีนี้เดือนมีนาคมเช่นกัน เว็บไซต์ IQAir รายงานว่า จ.เชียงใหม่ ขึ้นอันดับ 1 เมืองมลพิษมากที่สุดของโลก ปริมาณ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง
😢เมื่อวานนี้ คุณหมอคนหนึ่งต้องจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับเพราะมะเร็งปอด ทั้งที่เขาใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารดี ไม่สูบบุหรี่ แต่ทั้งหมดนี้อาจไม่ช่วยอะไรเลยเมื่อเขาต้องใช้ชีวิตในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นพิษ
.
ทั้งหมดเป็นเครื่องยืนยันอย่างชัดเจน ว่าปัญหาฝุ่นพิษรุนแรงและใกล้ตัวเรามากเพียงใด โดยผลกระทบจะยิ่งหนักขึ้นกับคนจน เด็ก และคนแก่ เพราะพวกเขามีร่างกายที่อ่อนแอและไวต่อฝุ่น ไม่มีพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันช่วยเหลือ
.
พรรคก้าวไกลรณรงค์เรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงเลือกตั้ง ว่าการแก้ปัญหาฝุ่น ต้องไม่ใช่เพียงการเรียกร้องจิตสำนึกจากประชาชนหรือการแก้ปัญหาระยะสั้นแบบขอไปที (เช่น ฉีดพ่นละอองน้ำ) แต่ต้องลงลึกไปถึงต้นตอปัญหา หนึ่งในนั้นคือการเผา โดยเฉพาะการเผาเพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรม ที่มีเบื้องหลังเป็นธุรกิจการเกษตรที่ทำธุรกิจอย่างไม่รับผิดชอบ
.
📌เป็นที่มาที่พรรคก้าวไกล จัดทำร่าง พ.ร.บ.ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน มีสาระสำคัญซึ่งแตกต่างจากร่างของกลุ่มอื่นๆ อยู่ที่การเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ประกอบธุรกิจอย่างจริงจังเข้มข้น
.
✅1) กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการต้องทำรายงานต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อรายงานกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ว่าได้ดำเนินกิจการที่มีส่วนก่อให้เกิดฝุ่นพิษหรือไม่
.
✅2) มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ เช่น ใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ข้อมูลจุดความร้อน หากตรวจพบว่ากิจการนั้นๆ มีการก่อฝุ่นพิษ สวนทางกับสิ่งที่รายงานต่อคณะกรรมการฯ บริษัทต้องโดนโทษปรับทางแพ่ง สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท
.
โดยควบคู่ไปกับบทลงโทษทางกฎหมาย คือบทลงโทษทางสังคม จะมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินกิจการของบริษัทดังกล่าวต่อสาธารณะ ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าจะสนับสนุนธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายนี้ต่อไปหรือไม่
.
✅3) ทำให้อำนาจและบทบาทของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีความชัดเจนมากขึ้น
– คณะกรรมการฯ สามารถให้คำแนะนำกระทรวงการต่างประเทศ ในการประสานความร่วมมือกับรัฐต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศข้ามแดน เช่น ห้ามนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปทางการเกษตรจากต่างประเทศ ที่มีการเผาแล้วก่อให้เกิดฝุ่นพิษในประเทศไทย
– กำหนดให้มีคณะกรรมการอีกชุด เรียกสั้นๆ ว่า “คณะกรรมการกำกับฯ” มีหน้าที่ให้ความเห็นและคอยกระทุ้งการทำงานของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอีกทางหนึ่ง เพื่อไม่ให้เพิกเฉยต่อปัญหา ปฏิบัติงานไม่บกพร่อง
.
✅4) รัฐต้องมี “ระบบแจ้งเตือนเฉพาะพื้นที่” ในพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องมากกว่า 24 ชั่วโมง ประเด็นนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราควรมีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนด้วยระบบ Cell Broadcast หรือ Location-Based SMS เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่นั้นตระหนักถึงค่ามลพิษทางอากาศที่พวกเขากำลังสูดหายใจ
.
✅5) เพิ่มอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากปัจจุบันท้องถิ่นแทบไม่สามารถดำเนินการใดๆ ในเรื่องนี้ได้ ออกเทศบัญญัติบังคับใช้เองก็ไม่ได้ ต้องรอคำสั่งจากส่วนกลาง
.
ร่างกฎหมายของก้าวไกลจะกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัด ควบคุม และห้ามการกระทำที่เป็นเหตุก่อให้เกิดฝุ่นพิษ เช่น การเผาในที่โล่งหรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชน
.
🍊ร่าง พ.ร.บ.ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน จะถูกยื่นเข้าสภาฯ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2566 พร้อมกับร่างกฏหมายด้านสิ่งแวดล้อมฉบับอื่นๆ ที่พรรคก้าวไกลเตรียมไว้ รวมแล้ว 4 ฉบับ
.
นอกจากนี้ในระดับท้องถิ่นอย่างกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกลยังเดินหน้าแก้ไขปัญหาระยะยาวเพื่อคืนอากาศสะอาดกลับสู่ กทม. อีกครั้ง โดยในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญที่ 1 เดือนมกราคมที่จะถึงนี้…
📍ส.ก.ก้าวไกล เตรียมเสนอญัตติให้ที่ประชุมฯ พิจารณาเห็นชอบให้ผู้ว่า กทม. เดินหน้าพูดคุยกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อนำสาระสำคัญของ “ข้อบัญญัติรถเมล์ไฟฟ้า” ไปปรับใช้เพื่อบังคับในกรุงเทพฯ หลังจากก่อนหน้านี้ มีหนังสือจากคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าจะเซ็นเพื่อบังคับใช้ได้ ทำให้ข้อบัญญัติรถเมล์ไฟฟ้าค้างการพิจารณาอยู่ที่สภา กทม. ไม่สามารถประกาศใช้ได้
📍ส.ก.ก้าวไกลจะนำร่าง “ข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว” เข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2-3 เพื่อเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ ให้เป็นกำแพงรองรับฝุ่นและกรองมลพิษที่เกิดขึ้น
.
พรรคก้าวไกลตระหนักดี ว่าการแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ไม่ใช่เรื่องง่ายที่สามารถทำได้ทันทีเป็นนโยบาย Quick Win เราจึงเสนอเรื่องนี้โดยมองภาพระยะยาว ตั้งใจจะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับโครงสร้าง แก้กฎหมาย เพื่อให้คนทั้งประเทศ ไม่ว่าคุณจะอยู่ไหน ต้องปลอดภัยจากฝุ่นพิษ ลดการสูญเสียจากมะเร็งปอด และมีอากาศสะอาดได้หายใจตลอดไป
ที่มา :เพจพรรคก้าวไกล
Facebook Comments


Social sharing

Related post