Digiqole ad

ตรวจ Sleep Test เช็คประสิทธิภาพการนอน

 ตรวจ Sleep Test เช็คประสิทธิภาพการนอน

Happy Attractive Young asian Family Portrait Healthy harmony in life family day concept asian family man woman and little girl having good time together.top view bedroom mattress

Social sharing

Digiqole ad

สะดุ้งตื่นกลางดึก ตอนเช้าตื่นมาไม่สดใส รู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอน หรือนั่งทำงานแล้วแอบหลับบ่อย ๆ อาการเหล่านี้อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติในการนอนหลับของคุณอยู่ การตรวจ “Sleep Test” จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยดูแลประสิทธิภาพการนอน และนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีตามมา

บทความให้ความรู้ โดย นพ.ชยานุชิต ชยางศุ แพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา ศูนย์โรคระบบสมอง โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจ Sleep Test ไว้อย่างครบถ้วนชัดเจน โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องประสบปัญหาดังกล่าวจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ เพื่อการรับข้อมูลที่ครบถ้วนนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องรวมทั้งเป็นการช่วยดูแลสุขภาพการนอนที่ดีให้กับตัวคุณและคนรอบข้าง

Sleep Test คืออะไร?

Sleep test คือ การตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ เพื่อสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับด้วยเครื่อง Sleep Test โดยจะต้องทำการตรวจขณะนอนหลับ โดยการตรวจนี้จะทำให้ทราบว่าตัวเรามีอาการความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในระหว่างการนอนหรือไม่ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนกัดฟัน นอนละเมอ ภาวะชักขณะหลับ แขนขากระตุก รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยวางแผนและติดตามการรักษาได้อย่างถูกต้อง

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ Sleep Test

ในเบื้องต้นให้ลองสังเกตตัวเราเอง หรือให้คนที่อยู่ข้างกายสังเกตดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เช่น นอนกรนดังผิดปกติ มีการสะดุ้งตื่น หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน นอนเยอะแต่ยังรู้สึกว่านอนไม่พอตลอดเวลา ตอนเช้าตื่นมาไม่สดชื่น รู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอนบ่อย ๆ นั่งทำงานแล้วหลับบ่อย ๆ คนที่เป็นโรคอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน โดยภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้หมออยากให้ลองตรวจ Sleep Test สักครั้ง เพื่อดูประสิทธิภาพการนอนของเรา เพราะคุณภาพของการนอน เป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ส่งผลกระทบอย่างไร? 

ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ เกิดขึ้นตามมาหลังจากการที่คนไข้บางรายมีการกรนมาก พอมีการกรนมาก ร่างกายเราจะขาดออกซิเจนเป็นช่วงสั้น ๆ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในตัวเกิดการคั่ง สมองก็จะสั่งงานทำให้เราตื่น เพราะว่าสมองจะต้องพยายามป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดออกซิเจนนานเกินไป และไม่ให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ในตัวคั่งมากเกินไป พอมีการกระตุ้นทำให้เราตื่น จะทำให้เกิดการนอนหลับลึกแล้วก็ตื่น สลับกันไปเรื่อย ๆ บางคนเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ 1 นาที เกิน 100 ครั้ง ลองนึกภาพตามก็คือ แทนที่จะได้นอนแล้วหลับยาวตลอดคืน แต่กลับต้องนอนหลับสลับกับการตื่น สมมติได้นอน 10 ชั่วโมง เปรียบเทียบกันก็คือ สมองเราได้พักจริง ๆ อาจจะแค่ครึ่งเดียว เพียง 5ชั่วโมง ซึ่งทำให้คุณภาพในการนอนแย่ลง

แนวทางการดูแลผู้ป่วย ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

อันดับแรก ต้องเข้ามาทำการตรวจ Sleep Test โดยคนไข้จะต้องมานอนที่โรงพยาบาลช่วงเวลากลางคืน 1 คืน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการติดอุปกรณ์ เพื่อตรวจคุณภาพการนอนของเราว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย กรณีที่พบว่าคนไข้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก หรือที่เรียกว่า Continuous Positive Airway Pressure เพื่อช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจในขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศได้อย่างพอเพียง และนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน เมื่อหลับสบายตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสดชื่น และช่วยลดอาการอ่อนเพลีย หรือความง่วง เพราะว่าการนอนไม่ใช่แค่การพักผ่อน แต่การนอนที่มีคุณภาพ ทำให้เรามีสุขภาพที่ดีตามมาด้วย

บางคนคิดว่าการนอนกรนเป็นเรื่องปกติที่เจอได้ในชีวิตประจำวัน และการนอนกรนแค่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนด้วย หรือคนรอบข้าง แต่จริง ๆ แล้วนอกเหนือจากเรื่องนอนกรน มันมีสิ่งที่ซ่อนอยู่คือ บางคนมีการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของการนอน โดยทั่วไปแล้วเราจะไม่มีทางรู้เองได้เลย และในปัจจุบันก็ยังแนะนำว่า วิธีการตรวจที่ดีที่สุดคือ การทำ “Sleep Test” หากท่านใดที่มีอาการนอนกรน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อทำให้คุณภาพในการนอนของเราดีขึ้น

Facebook Comments


Social sharing

Related post