Digiqole ad

ตกลงมีมั้ย!? ผลประโยชน์ทับซ้อนใน กสทช.

 ตกลงมีมั้ย!? ผลประโยชน์ทับซ้อนใน กสทช.
Social sharing
Digiqole ad
📌ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (31 ส.ค.) มีวาระการประชุมสำคัญ คือการพิจารณารับทราบรายงานผลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประจำปี 2565 �📌สส. พรรคก้าวไกลหลายคน อภิปรายอย่างเข้มข้น ตรวจสอบการดำเนินงานของ กสทช. ที่มีปัญหาความไม่โปร่งใสในหลายกรณี หนึ่งในนั้นคือ Pukkamon Nunarnan – ภคมน ลิซ่า หนุนอนันต์ สส.บัญชีรายชื่อ ที่ชี้ให้เห็นข้อพิรุธในกรณีการจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งคำถามว่าองค์กรพิเศษอย่าง กสทช. มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่รับงาน กสทช. มูลค่าหลายสิบล้านบาท หรือไม่?
.
ภคมน ระบุว่า กสทช. มีรายได้ปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาทจากการเก็บค่าธรรมเนียมคลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติสาธารณะของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งระเบียบเปิดช่องให้ กสทช. หักเงินเอาไว้ใช้เองก่อน เหลือเท่าไรจึงค่อยคืนเข้าสู่คลัง
.
💸 กสทช. จึงเป็นเหมือนหน่วยงานที่เก็บ ‘ค่าต๋ง’ เหมือนระบบเจ้าภาษีนายอากร ที่มีกลุ่มบุคคลที่ได้รับอำนาจตามกฎหมายเข้าไปเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ด้วยอำนาจที่เบ็ดเสร็จในการอนุมัติงบประมาณ มีอำนาจในการใช้งบประมาณอย่างไรก็ได้ 💸
.
ทำให้ กสทช. ทุกยุคทุกสมัย มีข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใส โดยเฉพาะกรณีการเดินทางไปต่างประเทศของประธาน กสทช.
.
✈️ตลอด 1 ปี 3 เดือนที่ผ่านมามีการเดินทางไปต่างประเทศถึง 15 ครั้ง ใช้งบประมาณ 45.8 ล้านบาท แม้จะมีข้อโต้แย้งออกมาว่ามีการใช้งบประมาณเพียง 7.5 ล้านบาท โดยบอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของประธาน กสทช. ไม่นับผูู้ติดตาม จึงขอให้ทาง กสทช. ออกมาชี้แจงงบประมาณในการเดินทางไปต่างประเทศทั้งหมดให้ชัดเจนกว่านี้✈️
.
📨 จดหมายฉบับหนึ่งจากพนักงาน กสทช. ที่ทนเห็นความเลวร้ายในองค์กรไม่ไหว ส่งถึงภคมน บอกเล่าผลประโยชน์มหาศาลภายใน กสทช. ที่นำมาซึ่งการเล่นพรรคเล่นพวกและการเมืองภายในที่รุนแรง โดยมีผลประโยชน์ของประชาชนเป็นเดิมพัน 📨
.
เนื้อหาช่วงหนึ่งในจดหมายระบุว่า “สำหรับเรื่องโปรเจกต์ของบอร์ด หรือผู้บริหารระดับสูง แม้กระทั่งที่ปรึกษาบอร์ด จะมีทุกยุคทุกสมัย”
.
“บางโปรเจกต์เสียดายงบประมาณมาก ซื้อมาแล้วไม่เคยใช้เลย (เพราะเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องใช้) เหมือนซื้อมาทิ้ง หวังกินค่าคอมมิชชั่น หรือบางโปรเจกต์ได้ของไม่มีคุณภาพ ซื้อมาไม่นานก็เสีย และไม่มีการแก้ไขซ่อมแซมแม้จะอยู่ระหว่างรับประกัน หรือแจ้งบริษัทไปแล้วก็ซ่อมไม่ได้ เจ้าหน้าที่ก็ไม่อยากยุ่งเพราะรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง”
.
“ปัจจุบัน กสทช. แม้จะเป็นบอร์ดแล้ว ยังมีโปรเจกต์อย่างต่อเนื่อง แถมเพิ่มขึ้นมากในหลายสำนักเพราะไม่มีใครกล้าขัดใจแล้ว บริษัทหลักที่ใช้ประมูล คือ บริษัท ทาลอนเน็ต จำกัด ….. นับรวมๆ บริษัทในเครือน่าจะได้งานเกิน 1,000 ล้านบาท ….. กรรมการพิจารณาผลส่วนใหญ่เป็นเด็กเพิ่งทำงานไม่กี่ปี และที่สำคัญไม่มีความรู้ทางเทคนิคในเรื่องที่พิจารณา”
.
“การประกวดราคาครั้งใด หากผลคะแนนของบริษัท ท. แพ้ ก็จะหาทางให้บริษัทคู่แข่งตกในเรื่องคุณสมบัติ หรืออาจถึงขั้นปรับคะแนนแต่ละหมวดไม่ตรงกับเอกสาร TOR ….. เพื่อให้หายข้อข้องใจ บอร์ดควรเสนอให้มีการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบย้อนหลังทุกโครงการ โดยไล่ดูเอกสารทุกแผ่นอย่างละเอียด”
.
ภคมนอภิปรายต่อไปว่า กรณีที่ตนอยากหยิบยกขึ้นมาในวันนี้ คือกรณีการอนุมัติโครงการพัฒนาทักษะสร้างความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศสู่สังคมดิจิทัล 5 ภูมิภาค งบประมาณ 1.7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการจ้างบริษัทเอกชนในแต่ละภูมิภาคไปอบรมประชาชนในการใช้เทคโนโลยี
.
คำถามคือ งบประมาณขนาดนี้ที่ใช้ในช่วงเลือกตั้ง มีเป้าหมายอะไร? กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรม ระบุจำนวน 500,000 คน ตอนนี้อยู่ที่ไหน? พวกเขาใช้เทคโนโลยีเก่งขึ้นหรือไม่?
.
มีการตั้งข้อสังเกตจากสื่อมวลชน ว่าบริษัทเอกชนที่ชนะการประมูลโครงการ ล้วนมีความใกล้ชิดกับกลุ่มทุนการเมืองในรัฐบาลทั้งสิ้น โดยแต่ละรายที่ชนะการประมูลในแต่ละภาค ต้องเจียดงบประมาณสนับสนุนพิเศษให้พรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งกว่าร้อยล้านบาท ผ่านกระบวนการจัดสรรประโยชน์ที่มีผู้บริหาร กสทช. เป็นผู้ดำเนินการ
.�🧐แหล่งข่าวให้ข้อมูลที่น่าสนใจมาว่า มีบริษัทหนึ่งชื่อ ทาลอนเน็ต มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบอร์ด กสทช. และรับโครงการต่างๆ จากบอร์ด กสทช.🧐
.
เมื่อสืบค้นลงไปก็พบว่า บริษัท ทาลอนเน็ต จำกัด ประกอบกิจการซื้อขาย ติดตั้ง บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ออกแบบพัฒนาอีคอมเมิร์ซ มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ข้อมูลการรับงานภาครัฐปี 2560 – 2566 มีการรับงานไปแล้ว 35 โครงการ วงเงิน 141 ล้านบาท
.
🤔โดยที่ 21 จาก 35 โครงการเป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง และกล่าวได้ว่าบริษัทดังกล่าว มีรายได้ก้าวกระโดดทันที หลังจากได้รับงานจาก กสทช. ในปี 2560🤔�.
ที่ตั้งของ บริษัท ทาลอนเน็ต พบว่าเป็นที่ตั้งเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอมิตา การจัดหาน้ำประปาในครัวเรือนและอุตสาหกรรม และเมื่อสำรวจลงไป ก็พบว่าสภาพจริงเป็นเพียงทาวน์เฮาส์ 1 คูหา 3 ชั้น บริษัทนี้ยังคงดำเนินการอยู่และรับงาน กสทช. ในปี 2566 นี้ด้วย
.
🔥จึงขอให้ กสทช. ชี้แจงว่า ใช้งบประมาณของรัฐปีละกว่า 20 – 30 ล้านบาทในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการกับบริษัทเช่นนี้ได้อย่างไร บริษัทดังกล่าวมีกรรมการ กสทช. คนหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจริงหรือไม่🔥 � .� 📍ข้อมูลความไม่โปร่งใสทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า กสทช. มีสถานะเป็นองค์กรพิเศษ ที่นำมาซึ่งอำนาจพิเศษ � 📍กสทช. ถูกแต่งตั้งโดยวุฒิสภาที่มาจาก คสช. จึงปฏิเสธไม่ได้ว่างบประมาณที่มาจากทรัพยากรของประเทศที่มีประชาชนเป็นเจ้าของปีละหลายหมื่นล้านบาท ถูกใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ � 📍ต้นตอของปัญหานี้ล้วนเกิดขึ้นจากโครงสร้างอำนาจที่เอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐราชการ ภายใต้กฎหมายพิเศษ โดยไร้การตรวจสอบ
.
“ในฐานะอดีตสื่อมวลชน ดิฉันติดตามการทำงานของ กสทช. มาโดยตลอด ติดตามว่าเมื่อไรท่านจะทำตามแผนแม่บทฯ ที่ให้ไว้ คือการปฏิรูปสื่อที่ระบุในปี 2553 แต่เวลาล่วงเลยถึงบัดนี้ ดิฉันคิดว่าการปฏิรูปสื่อ อาจไม่เร่งด่วนเท่ากับการปฏิรูป กสทช.”
.
ภคมนปิดท้ายการอภิปรายด้วยข้อเสนอว่า กสทช. จำเป็นต้องมีกฎหมายใหม่ ที่ไม่ให้อำนาจ กสทช. เป็นหน่วยงานที่ลอยเหนือการตรวจสอบ เปลี่ยนที่มาของบอร์ดให้ยึดโยงประชาชน และถูกตรวจสอบจากองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ที่มา : เพจพรรคก้าวไกล
.
Facebook Comments

Related post