Digiqole ad

“ดร.ทวีศักดิ์  เผ่าบัณฑูร” กับข้อคิดชีวิตยุค 2023 “อิ่มใดเล่าจะเท่าอิ่มบุญ”

 “ดร.ทวีศักดิ์  เผ่าบัณฑูร” กับข้อคิดชีวิตยุค 2023 “อิ่มใดเล่าจะเท่าอิ่มบุญ”
Social sharing
Digiqole ad

            “กินอาหาร กินแล้วอิ่ม เมื่อเวลาไปเดี๋ยวก็กลับมาหิวอีก แต่ถ้าเรากินบุญสุนทาน กินแล้วก็อิ่มเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่กินอาหารอิ่มกาย แต่กินบุญนั้นเป็นความอิ่มใจ ซึ่งเป็นความอิ่มที่ที่สร้างความสุขและอยู่ติดตัวเราไปนาน ๆ เรียกว่า อยู่กันจนเราตายไป”

            ดร.ทวีศักดิ์ เผ่าบัณฑูร กรรมการผู้จัดการบริษัท ป่าสักวิลเลจ จำกัด กล่าวเปิดใจภายหลังจาก  เข้ารับประทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ประจำปี 2565 ประสาทปริญญาโดย เจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ อาคาร มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

 

           ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า ครอบครัวคือสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุดในสังคม คนเราจะดีได้นั้นก็เพราะมีพ่อแม่ ผู้ใหญ่เป็นเบ้าหลอมสำคัญ สั่งสอนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี เพื่อจะได้เป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีของชาตอบ้านเมือง ผมโชคดีที่มีพ่อแม่คอยพร่ำอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่มีข้อแม้และเงื่อนไขใดๆ ต้องกราบขอบพระคุณพ่อแม่ที่เป็นแบบอย่างและแนวทางที่ดีให้ผมได้ประพฤติและปฏิบัติตามมากระทั่งถึงทุกวันนี้

“ผมว่า สังคมให้อะไรกับผมมาเยอะมาแล้ว ผมก็ควรที่จะให้อะไรกลับคืนตอบแทนสังคมบ้าง ก็ไม่ใช่ว่าผมเพิ่งจะให้นะ ผมก็ให้มาตลอดเกือบทั้งชีวิตในทุกรูปแบบ โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ขอเพียงแค่ว่า เขาต้องการความช่วยเลือกจริง ๆ และเราว่าสมควรช่วยเหลือจริง ๆ คือภูมิใจผู้ให้ ประทับใจผู้รับ ไม่เดือดร้อนกันทั้งสองฝ่าย ตอนนี้ต้องระวังพวกมิจฉาชีพและมารศาสนา เราก็กลัวเหมือนกันว่าจะตกเป็นเครื่องมือและเหยื่อของคนเหล่านี้”

            ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวด้วยว่า พวกมิจฉาชีพและมารศาสนาที่เกิดขึ้นต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด บางครอบครัวก็แตกแยกหย่าร้างกัน ทุกๆ ฝ่ายจะต้องช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันให้ทั้งสถาบันครอบครัวและเด็กๆ ให้เข้มแข็ง โดยส่วนตัวแล้วหากมีโอกาสผมจะเข้าไปช่วยเหลือทุกครั้งทุกรูปแบบ โดยเฉพาะกับเด็กที่เป็นอนาคตของชาติ ซึ่งก็หวังว่า ชาติพร้อมจะให้อนาคตของเด็ก ๆได้จริงๆ

            “สำหรับการทำบุญของผมแล้วคือ การเป็นผู้ให้ เช่น การให้โอกาส การให้ความช่วยเหลือ การให้ความรัก รวมถึงการให้อภัย ผมถือว่าเป็นการทำบุญแล้ว โดยวิธีการทำบุญง่ายๆ ซึ่งสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องไปถึงวัด เช่น การกราบไหว้และถวายพวงมาลัยหิ้งพระที่บ้าน การสวดมนต์ การนั่งสมาธิ การรักษาศีล การทานเจหรือมังสวิรัติ  การแบ่งปัน การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน  การดูแลพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ และสิ่งผมอยากจะกล่าวทิ้งท้ายคือ การทำบุญไม่จำเป็นว่าต้องมีมูลค่ามากมายอะไร และความดีของทานไม่ได้อยู่ที่วัตถุ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่จิตใจ”

 

 

 

 

Facebook Comments

Related post