Digiqole ad

‘ณรงค์ฤทธิ์ สุขไชยปราการ’ ทิ้งชีวิตมนุษย์เงินเดือน สู่เกษตรกรผู้ยั่งยืน

 ‘ณรงค์ฤทธิ์ สุขไชยปราการ’ ทิ้งชีวิตมนุษย์เงินเดือน สู่เกษตรกรผู้ยั่งยืน
Social sharing

Digiqole ad

มนุษย์เงินเดือน แม้จะเป็นกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่า อยู่ในพื้นที่เซฟโซน ที่มีความมั่นคง และมีการวางแผนทางการเงินที่ชัดเจนก็ตาม แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยอะไรหลายๆ อย่าง

สุขภาพและความสุขตลอดจนชีวิตที่ยืนยาวเป็นสิ่งที่ณรงค์ฤทธิ์ สุขไชยปราการหรือ พี่ชอง ตัดสินใจที่จะละทิ้งความเป็นมนุษย์เงินเดือน แล้วออกมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรอย่างทุกวันนี้ตั้งแต่ผมเรียนจบ ก็ทำงานในบริษัทเอกชน เริ่มจากการเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่จะไปทำงานเป็นพนักงานในบริษัทเอกชนทั่วไปในกรุงเทพฯพี่ชองเล่าว่า เขาทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนแบบนั้นมานานกว่า 30 ปี จนกระทั่งรู้สึกว่า ตัวของเขากำลังประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพ 

การตัดสินใจครั้งสำคัญ

ในช่วงนั้น ผมมีปัญหาเรื่องของสุขภาพพี่ชอง บอกว่า เขาเป็นโรคหัวใจ ที่มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดตีบ อันเกิดจากคอเลสเตอรอล และความเครียดจากการทำงาน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษามาตลอดจริงๆ ก่อนหน้านั้น ผมซื้อที่ดินที่ปากช่อง เขาใหญ่เอาไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทำงานไปด้วย แล้วก็ค่อยๆ ปรับพื้นที่ทำเป็นสวนผลไม้ แต่ช่วงเวลานั้น ก็มีปัญหาสุขภาพด้วย ทำให้เราเริ่มตัดสินใจที่ต้องเลือกระหว่างเรื่องของสุขภาพ และ งานประจำ ขณะที่ต้นไม้ที่ผมปลูก ก็เริ่มให้ผลผลิตออกมาบ้างแล้ว ทำให้เราเห็นรายได้ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทดแทนรายได้ประจำของเราได้ 

นั่นจึงทำให้ พี่ชอง ตัดสินใจลาออกจากงานประจำสาเหตุหลักๆ ที่ผมตัดสินใจลาออก ก็น่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ อย่างที่บอกครับว่า ผมเป็นโรคหัวใจ และการเป็นโรคนี้ วิธีหนึ่งที่จะช่วยรักษาให้ดีขึ้น คือการได้รับออกซิเจน ไปฟอกเลือด เราจึงต้องเลือกระหว่างการได้รับออกซิเจนในเมืองหลวง ที่มีแต่สารพิษเจือปน หรือ จะไปรับออกซิเจนในสวน หรือ ในพื้นที่ที่มีป่า มีต้นไม้ เพราะผมเชื่อว่า หากเราต้องการมีชีวิตอยู่ต่อ เราต้องเลือกสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับเรา 

วางแผนล่วงหน้าเพื่ออนาคตและสุขภาพ

การตัดสินใจครั้งนั้น ไม่ได้ทำให้พี่ชอง ผิดหวังแม้แต่น้อย สุขภาพที่ดีกลับคืนมาอย่างเห็นได้ชัดนั่นเป็นสิ่งที่ ผมเตรียมตัวมา 20 ปีแล้ว ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะเป็นข้อคิดดีๆ สำหรับคนที่มีที่มีทาง หรือ กำลังวางแผนเกษียณเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่ควรวางแผนเกษียณในวัยเกษียณพี่ชอง บอกเหตุผลให้ฟังว่า หากเราวางแผนเกษียณในเวลาที่กระชั้นเกินไป อาจเป็นการตัดสินใจที่ช้าเกินเราควรวางแผนไว้อย่างน้อย 1015 ปี เพราะเพื่อให้มีเวลาในการคิด และศึกษาหาความรู้ได้มากพอกับสิ่งที่เราต้องการจะทำอาชีพอะไรก็ตาม อย่างผมคิดเอาไว้แล้วว่าจะต้องมาทำสวน เราก็เลยต้องวางแผนช่วงรอยต่อ และเราเองก็ยังไม่มีความรู้เรื่องของอาขีพใหม่ที่จะทำ เลยต้องแสวงหาความรู้เหล่านั้นก่อนถึง 15 ปี 

พี่ของยกตัวอย่างให้ฟังด้วยว่า หลังจากที่ซื้อที่ดินเอาไว้เมื่อ 20 ปีก่อน เขาก็วางแผนที่จะปลูกทุเรียน แต่กว่าที่ทุเรียนจะให้ผลผลิตก็กินเวลานานถึง 5 ปีในช่วงนี้ ผมเลยต้องศึกษา และเตรียมตัวให้รู้จักกับผลไม้ที่เราปลูกอย่างทะลุปรุโปร่ง และต้องทำความรู้จักกับช่องทางการตลาดไปพร้อมกันด้วยขณะเดียวกัน ระหว่างที่รอให้ทุเรียนออกผลผลิต พี่ชองเล่าว่าระหว่างทางเขามีการศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำสวน รวมถึงการมองหาพืชที่ให้ผลผลิตก่อนมาปลูกทั้งหมดเพื่อเป็นการรองรับการตัดสินใจของเราหลังจากที่ลาออกจากงานประจำ และหันมาทำสวนแบบเต็มตัว ตลอดจนการมองหารายได้ทดแทนที่จะมาใช้หล่อเลี้ยงชีวิตของเราและครอบครัวไปด้วย 

พี่ชอง ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของสวนเอเดน ออแกนิค ปากช่อง เขาใหญ่ เล่าว่า ช่วงแรกที่เขาวางแผนจะทำสวน เขาเริ่มต้นด้วยการปลูกแก้วมังกร พืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สามารถให้ผลผลิตได้ภายใน 78 เดือน  และระหว่างแปลงปลูกแก้วมังกร เราก็ยังปลูกไม้ยืนต้นอย่างทุเรียน และ อาโวคาโด ไปด้วยกัน รายได้ช่วงแรกของเรา ส่วนใหญ่จะได้จากแก้วมังกร เพื่อให้เรามีรายได้มาใช้ ในการทำสวน และเลี้ยงตัวเองให้ได้ก่อนจนถึงวันนี้ พี่ชอง มีรายได้จากการทำการเกษตร อย่างเป็นกอบเป็นกำก็ว่าได้ 

ผลที่ได้กลับมาดีเกินคาดหวัง

ไม่ใช่แค่เรื่องของรายได้ ที่มาทดแทนเงินจากการทำงานประจำ อย่างมากโข เท่านั้น พี่ชอง ของเราวันนี้ ยังได้อะไรอีกหลายสิ่งด้วยเหมือนกันหลังจากที่ตัวเองตัดสินใจเกษียณอายุ และลาออกจากการทำงานประจำ ก็ทำให้พบอะไรหลายๆ อย่าง เริ่มจาก เรื่องของ รายได้ที่มีเข้ามา มากกว่ารายได้ของงานประจำ ส่วนที่สอง คือเรื่องของสุขภาพ ที่แข็งแรงขึ้นมาก เพราะเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้ และอากาศที่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะ บนเขาใหญ่ ทำให้เราได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ ช่วยให้มีปัญหาด้านสุขภาพน้อยลงจริงๆ 

สิ่งที่ 3 ที่พี่ชองได้ในวันนี้อีกสิ่งคือ การได้มีส่วนร่วมกับชุมชนเราเคยทำงานประจำมาก่อน สิ่งที่เราได้ติดตัวมาก็คือ เครือข่าย และเพื่อนฝูง รวมถึงมองเห็นช่องทางการตลาด ทำให้เรากลายเป็นคนที่มีส่วนในการขับเคลื่อนทุเรียนปากช่อง ให้มีชื่อเสียง เราอาจเรียกว่าเป็นเจ้าแรกๆ ที่ปลูกทุเรียน และใช้เรื่องของการตลาด จนทำให้คนรู้จักทุเรียนปากช่องเขาใหญ่มากขึ้น นอกจากนี้เรายังได้ไปร่วมกับวิสาหกิจชุมชนและพานิชย์จังหวัด ขับเคลื่อนให้เกิดทุเรียน G.I. ให้ทุเรียนปากช่อง เขาใหญ่ เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ และอีกอย่าง พอเรามาอยู่กับชุมชน ยังได้ใช้เครือข่ายต่างๆ ผลักดันเรื่องของการท่องเที่ยวในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับชุมชน 

จุดเด่นทุเรียน ปากช่อง เขาใหญ่

พี่ชอง เล่าด้วยว่า เหตุผลที่พยายามผลักดันทุเรียนปากช่อง ให้เป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้นนั้น ไม่ใช่แค่การช่วยเกษตรกรในพื้นที่ แต่ด้วยรสชาติที่โดดเด่นของทุเรียนปากช่อง ยังเป็นสิ่งที่เขาเชื่อว่า น่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศเป็นอย่างดีด้วยพื้นที่บนเขาใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ ทำให้เนื้อทุเรียนของปากช่อง มีความแตกต่างไปจากทุเรียนจากจังหวัดต่างๆ เพราะทุเรียนปาช่อง มีจุดเด่นอยู่ที่ เนื้อแห้ง เนียนนุ่ม ละมุมลิ้น กลิ่นไม่แรงด้วยทำเลที่ปลูก อยู่บนภูเขา ทำให้ดินไม่ได้อุ้มน้ำมากเกินไป เนื้อของทุเรียนปากช่องจึงแห้ง

 ขณะที่ความเนียนนุ่ม เกิดจาก แร่ธาตุธรรมชาติที่อยู่ในดิน เพราะดินที่ปากช่อง เป็นดินภูเขาไฟมาก่อนตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ และนี่ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ กลิ่นของทุเรียนปากช่อง ไม่แรงเกินไป ประกอบกับการทำสวนทุเรียนของที่ปากช่อง ยังเป็นการทำสวนเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่มีเรื่องของสารเคมีมาเกี่ยวข้อง และอีกสิ่งที่เป็นจุดเด่นของทุเรียนปากช่อง คือ ความละมุมลิ้น ในส่วนนี้เกิดจากแร่สังกะสี และทองแดง ที่เป็นสารอาหารในดินของปากช่อง ทำให้ทุเรียนปากช่อง มีเอกลักษณ์อย่างโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งก็ว่าได้ 

ผมมองว่า วันนี้ทุเรียนปากช่อง เขาใหญ่ จะกลายเป็นทุเรียนที่น่าจะทำตลาดได้ดีในประเทศไทย เนื่องจากมีรสชาติ และเนื้อสัมผัส ที่ถูกปากถูกลิ้นคนไทย และเชื่อว่าน่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ที่ทำรายได้ดีให้กับเกษตรกร และเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศอยู่มากเรียกว่า เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ ณรงค์ฤทธิ์ สุขไชยปราการ เจ้าของสวนเอเดน ออแกนิค ที่วันนี้ไม่ได้มีแค่เรื่องของ ความสุข และสุขภาพที่ดี จากการหันมาประกอบอาชีพเกษตร เท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนบุคคที่มาช่วยจุดประกาย และเป็นแรงผลักดันให้เกษตรกร และคนที่กำลังมองหาโอกาส และกำลังวางแผนสร้างอาชีพใหม่ให้กับตัวเองอีกด้วย 

Facebook Comments


Social sharing

Related post