Digiqole ad

“ซีพี-เมจิ” หนุนเด็กและเยาวชน มีหลัก 3 อ. เพื่อสุขภาพที่ดีพร้อมต้านโควิด-19

 “ซีพี-เมจิ” หนุนเด็กและเยาวชน มีหลัก 3 อ. เพื่อสุขภาพที่ดีพร้อมต้านโควิด-19
Social sharing

Digiqole ad

หนึ่งในนโยบายด้าน CSR ของ ซีพี-เมจิ บริษัทในเครือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ นั่นคือ การส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพเด็กและเยาวชน เห็นได้จากมีโครงการต่าง ๆ มากมาย อาทิ โครงการ “CP Meiji ส่งต่อพลัง สตรองไปด้วยกัน” ที่นำพนักงานจิตอาสาลงพื้นที่ส่งมอบพลังแห่งสุขภาพดี ผ่านผลิตภัณฑ์นมเมจิ และโยเกิร์ตเมจิ คุณภาพสูง หลากหลายรสชาติให้แก่เด็กและเยาวชน ใน 50 ชุมชน จำนวน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ

,โครงการ “ทำชีวิต ให้มีชีวา” เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มทักษะในการช่วยเหลือตัวเองให้แก่เด็กและเยาวชนให้ได้มี “วิชาชีวิต หรือ ทักษะชีวิต” นำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน สามารถนำวิชาความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และพัฒนาต่อยอดสู่อาชีพในอนาคต นอกเหนือจากวิชาในห้องเรียน

 

รวมถึง “โครงการซีพี-เมจิ เทนไซ  แคมป์ติวสดสำหรับน้อง ป.6 เข้า ม.1 แคมป์แรกและแคมป์เดียวของประเทศ ภายใต้แนวคิด “E-Learning เปิดวาร์ปความรู้ สู่ม.1 อย่างมั่นใจ เรียนแบบอินเตอร์แอคทีฟออนไลน์ครั้งแรกของโลก กับคุณครูผู้คร่ำหวอดประสบการณ์

และล่าสุดกับครั้งแรกของประเทศไทยในกิจกรรมกระโดดเชือกออนไลน์ระดับเยาวชน “CP-Meiji Junior Jump Rope Virtual Challenge” รับรองการแข่งขันโดยสมาคมกีฬาจัมพ์โร้ปไทย ภายใต้แคมเปญ “CP-Meiji Fit To The Height เพิ่มความฟิต พิชิตความสูง”  ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ผู้ปกครองและเด็กไทยหันมาใส่ใจเรื่องการเพิ่มความสูงในวัยที่เหมาะสม

 

คุณชาลินี พูนลาภมงคล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า ซีพี-เมจิ ตอกย้ำนโยบายพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ซีพี-เมจิ ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ มาโดยตลอด และเนื่องจากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ทำให้น้องๆ ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ จำเป็นต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน และมีทางเลือกน้อยในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซีพี-เมจิ ส่งต่อความห่วงใยไปถึงน้อง ๆด้วยหลักปฏิบัติ 3 อ. ประกอบด้วย

 

1. “อาหารดี” ที่มีต่อสุขภาพกายและใจ โดยอาหารดีนั้นไม่ได้หมายถึงอาหารที่มีราคาแพง แต่หมายถึงอาหารที่มีความสะอาดและความปลอดภัย รวมถึงให้สารอาหารที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน

 

2. “ออกกำลังกายดี” การทำให้ร่างกายของเรามีการเคลื่อนไหวที่ดีและมีความถูกต้อง จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและอดทน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต อีกทั้งเป็นการกระตุ้นอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีจิตใจที่สบาย มีอารมณ์อย่างมั่นคง ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของคนเราทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 7-15 ปี ควรเน้นวิธีออกกำลังกายที่มีการกระทบกันของข้อต่อกระดูก เพื่อโอกาสการเร่งสร้างการขยายตัวของกระดูก

3. “เอนกายดี” หรือการพักผ่อนที่ดีเป็นสิ่งที่คนเราไม่ควรมองข้าม ซึ่งการนอนหลับที่ดีจะต้องหลับยาวนานและพอเพียง ซึ่งควรอยู่ที่ประมาณ 8-9 ชั่วโมงต่อวันอีกทั้งยังต้องหลับลึกหลับสนิท ร่างกายจะไม่มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ทำให้มีการหลั่งโกรทฮอร์โมน สมทั้งสมองจะมีกระบวนการจัดระเบียบข้อมูลในขณะที่หลับลึกด้วย

นอกจากนี้ผู้บริหารซีพี-เมจิยังได้เชิญชวนน้อง ๆให้มาร่วมกิจกรรมกระโดดเชือกออนไลน์ระดับเยาวชน “CP-Meiji Junior Jump Rope Virtual Challenge” โดยรับสมัครเด็กเยาวชนอายุระหว่าง 7-15 ปีจากทั่วประเทศ และเริ่มกิจกรรมกระโดดเชือกออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1-30 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกอย่างน้อย 14 วัน และต้องกระโดดไม่ต่ำกว่า 50 ครั้งในแต่ละวัน เพื่อพิชิตเหรียญรางวัลและใบประกาศนียบัตรผ่านการแข่งขันเมื่อจบโครงการ

กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนที่ดีจากทางสมาคมกีฬาจัมพ์โร้ปไทย ให้น้องๆ สามารถกระโดดเชือกอยู่ที่บ้าน เวลาไหนก็ได้ ท่าไหนก็ได้ เก็บสถิติ แล้วส่งผลเข้ามา ถ้าทำได้ตามเป้าหมาย จะได้เหรียญรางวัลและใบประกาศนียบัตรจากทางสมาคมฯ และซีพี-เมจิ นอกจากนี้เรายังมีเกมส์ให้น้องได้ร่วมสนุกไปกับกิจกรรมของเราตลอดเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงของการปิดเทอม  เราเชื่อว่าจากกิจกรรมนี้จะสามารถทำให้เยาวชนของเรา รวมถึงผู้ปกครองหันมาใส่ใจการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกีฬากระโดดเชือก

 

กิจกรรม “CP-Meiji Junior Jump Rope Virtual Challenge” กระโดดเชือกออนไลน์ระดับเยาวชนเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2564 จำนวนจำกัด 1,000 คน เริ่มจับสถิติจำนวนครั้งกระโดดตั้งแต่วันที่ 1-30 ตุลาคม 2564 สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ www.Thai.fit หรือติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Facebook CpmeijiforJunior หรือ JumropeTH

Facebook Comments


Social sharing

Related post