Digiqole ad

“จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์” รมช.กระทรวงการคลัง อภิปรายชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

 “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์” รมช.กระทรวงการคลัง อภิปรายชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
Social sharing

Digiqole ad
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อภิปรายชี้แจงในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ยืนยันการจัดทำงบประมาณของรัฐบาล มุ่งมั่นแก้วิกฤตประเทศ วางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ สร้างเศรษฐกิจและรายได้ให้กับประชาชน และเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเพื่อ ให้มีการทบทวนปฏิทินงบประมาณเพื่อที่จะมีการปรับเนื้อหาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายปัจจุบันและเป็นประโยชน์กับประชาชนได้มากที่สุด
.
1. รัฐบาลพร้อมรับฟังข้อเสนอจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน และพร้อมนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุด และทำให้เม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ในส่วนที่เป็นข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เรารับไว้ ในส่วนที่เป็นวาทกรรมก็ขออนุญาตที่จะไม่ตอบ
.
2. รัฐบาลมีความจริงใจและตั้งใจในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ซึ่งงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย แต่ในบางนโยบาย เช่น การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว บางครั้งอาจไม่ได้มีรายการที่ปรากฏอยู่ งบประมาณนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของรัฐบาลเป็นหลัก โดยมีกลไกอื่นในการผลักดันนโยบายที่มากกว่างบประมาณ
.
3. มีข้อคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างบประมาณฉบับนี้ไม่ได้แตกต่างจากงบประมาณของรัฐบาลชุดก่อนหน้า ซึ่งข้อเท็จจริงคือมีภารกิจบางอย่างต่อเนื่องมา เช่น งบประมาณผูกพันที่เราไม่สามารถไปปรับได้ เพราะเราต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มี แต่ในการจัดทำงบประมาณปี 2567 ได้มีการสั่งปรับแก้ เพราะว่าวันที่เราเป็นรัฐบาลนั้น คำสั่งแรกๆ จากคณะรัฐมนตรี คือ ให้มีการทบทวนปฏิทินงบประมาณ เพื่อที่จะมีการปรับเนื้อหาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายปัจจุบันและสร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนให้มากที่สุด
.
4. แต่กลไกในการทำงบประมาณ 3.48 ล้านล้านบาท จะต้องเริ่มด้วยงบประมาณค่าใช้จ่ายตามสิทธิ เช่น งบบุคลากร และค่าใช้จ่ายผูกพันที่มีข้อผูกพันไปแล้ว รวมถึงค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค ซึ่งถูกกำหนดตามกฎหมาย แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถบริหารจัดการได้เกิดประโยชน์กับประชาชนได้เช่นกัน
.
5. ในส่วนที่เหลืออีกราว 1.5 ล้านบาท เป็นการจัดสรรให้กับการดำเนินการตามนโยบาย ประกอบด้วย
.
ส่วนแรก คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น อาทิ การแก้ปัญหาหนี้สิน ลดค่าใช้จ่ายพลังงาน ผลักดันการท่องเที่ยว
.
ส่วนที่สอง คือ ในระยะกลางและยาว ได้แก่
.
– การสร้างรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชน อาทิ การวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ การทูตเชิงรุก การเจรจาการค้า การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม การทำ Matching Fund การสนับสนุน Start up การเพิ่มรายได้ภาคการเกษตร ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ การบริหารจัดการน้ำครบวงจร กลไกเหล่านี้ถูกปรับเปลี่ยนและทำให้ล้อกับนโยบายรัฐบาล
.
– การสร้างโอกาส อาทิ การสร้างสิทธิเข้าถึงที่ดินทำกิน การสร้างแรงงานผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ การสนับสนุน Soft Power กีฬา การปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น
.
– การสร้างคุณภาพชีวิต อาทิ การปรับโครงสร้างภาครัฐให้เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ บริการประชาชน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ฝุ่น PM 2.5 การพัฒนาระบบสาธารณสุข 30 บาทรักษาทุกโรค รวมถึงสวัสดิการของรัฐอื่น ๆ
.
ทั้งหมดนี้ 1.5 ล้านล้านบาท เป็นกลไกซึ่งถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลแล้ว
.
6. ในส่วนของดิจิทัลวอลเล็ต มีการปรับเปลี่ยนแหล่งที่มาของเงิน โดยรัฐบาลพยายามสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ อีกทั้ง มีส่วนงานที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจมีความเห็นว่า หากใช้งบประมาณแผ่นดิน จะเป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐไปให้ประชาชนแทน ดังนั้นหากจะหวังผลกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจคาดหวังได้ยาก ข้อสรุปที่ได้คือแหล่งเงินใหม่จากภายนอกเข้ามาผ่าน พ.ร.บ.กู้เงิน เพราะงบประมาณเป็นเงินสำหรับบริหารจัดการภาครัฐและแก้ปัญหาของประชาชน แต่เราต้องการเติมเงินใหม่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดกระตุ้น พลิกฟื้นชีวิตพี่น้องประชาชน และเศรษฐกิจของไทยโตตามศักยภาพ เราจึงไม่เห็นดิจิทัลวอลเล็ตในงบประมาณแผ่นดินปี 2567 แต่เป็น พ.ร.บ. กู้เงิน แทน
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post