Digiqole ad

จาก้าเวิร์ส X โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต (CH9 AirPort Hospital)

 จาก้าเวิร์ส X โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต (CH9 AirPort Hospital)
Social sharing

Digiqole ad

บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) โดย รพ. จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต (CH9 AirPort Hospital) เดินหน้าปฏิวัติวงการแพทย์ก้าวสู่การให้บริการรูปแบบใหม่บนพื้นที่ของแพลตฟอร์ม Jakaverse เปิดตัวศูนย์การแพทย์บนโลกเสมือนจริง

Metaverse เป็นหนึ่งในช่องทางสำคัญที่จะช่วยต่อยอดการรักษาพยาบาลทางไกลหรือ Telemedicine ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งตามปกติจะดำเนินการผ่าน VDO call หรือโทรศัพท์ แต่ในระยะต่อไป ผู้ให้บริการสุขภาพมีแนวโน้มจะประยุกต์ใช้ Metaverse ในการให้บริการ Telemedicine มากขึ้น

ซึ่งไม่เพียงแค่ผ่านทางเทคโนโลยี VR (Virtual reality) หรือ AR (Augmented reality) เท่านั้น แต่จะเป็นการหลอมรวมเอาเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ มาผนวกกับการนำเอา AI เข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้เสมือนจริงมากขึ้น

จากการมีปฏิสัมพันธ์ของแพทย์ ผู้ป่วย รวมถึงมีการใช้เครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นเหมือนการจำลองโรงพยาบาลเสมือนจริง (Virtual hospital) ไว้บน Metaverse และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดความผิดพลาดที่เกิดจากตัวคน (Human error) อีกด้วย

การให้บริการด้านสุขภาพบน Metaverse อาจจะมีรูปแบบของบริการทั้งการให้คำปรึกษา การอธิบายขั้นตอนการรักษาแบบเสมือนจริงให้กับผู้ป่วย โดยอาจอยู่ในรูปของ 3D videos ที่ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างเช่นการเตรียมการผ่าตัด ซึ่งทีมแพทย์สามารถอธิบายขั้นตอนการรักษาให้กับผู้ป่วยได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายมากขึ้น ตลอดจนการให้การรักษาในรูปแบบของ Physiotherapy ผ่านกล้อง ซึ่งจะช่วยให้สามารถติดตามอาการทางกายภาพต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น เคสการผ่าตัดกระดูก แพทย์สามารถติดตามอาการโดยดูลักษณะการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยผ่านกล้องได้ในรูปแบบ 3 มิติ นอกจากนี้ ข้อมูลอาการของผู้ป่วยจะถูกส่งตรงไปยังแพทย์ผู้ให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลดภาระของผู้ป่วยในการเดินทางไปโรงพยาบาล อีกทั้ง ยังไม่มีข้อจำกัดสำหรับการใช้บริการข้ามพรมแดน

นอกเหนือจากการนำเอา Metaverse มาใช้ในการรักษาพยาบาลในรูปแบบ Virtual แล้ว Metaverse ยังมีประโยชน์สำหรับการใช้ในการศึกษาและเรียนรู้เทคโนโลยีการรักษาใหม่ๆ อาทิ Cloud gaming technology ซึ่งจะช่วยให้แพทย์จากทั่วทุกที่สามารถฝึกหัดเรียนรู้วิธีการรักษาใหม่ ๆ พร้อมกัน หรือแม้แต่การฝึกหัดผ่าตัดผ่านคนไข้เสมือนจริง (Virtual patient) โดยมีการจำลองเนื้อเยื่อ ของเหลวในร่างกายต่าง ๆ  ไว้บน Cloud ทั้งนี้เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองและวัตถุเสมือน (Digital twin) ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีหลายอย่าง อาทิ AI, IoT รวมถึง Cloud computing จะถูกนำมาใช้ในการสร้างคนไข้เสมือนจริง โดยอาศัยการเก็บข้อมูลการรักษาและนำเอามาวิเคราะห์เพื่อใช้อ้างอิงการรักษาในเคสที่คล้ายคลึงกันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเรียนรู้ผ่าน Metaverse อาจจะอยู่ในรูปแบบการรักษาคนไข้รายคนหรือรูปแบบของการประชุมวิชาการทางการแพทย์ทางออนไลน์ โดยมีแพทย์เฉพาะทางในแต่ละด้านเป็นผู้สอน หรือแม้แต่การสอนการใช้เครื่องมือแพทย์ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้ทางการแพทย์กว้างขวางมากขึ้น

ทั้งนี้แวดวงสาธารณสุขเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงสำหรับการรักษามายาวนานกว่าสองทศวรรษ

เช่น กลุ่ม (Prolonged Exposure Therapy) รักษาผ่านโลกเสมือนจริงท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเพื่อจัดการกับภาวะวิตกกังวล เช่น ความหวาดกลัวที่จะนั่งเครื่องบิน กลัวที่แคบ กลัวความสูง หรือกระทั่งกลัวแมงมุม

กลุ่ม PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ของกลุ่มทหารที่ผ่านศึกสงครามมา นักบำบัดจะพาพวกเขาเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริง

รวมถึงฝึกมือในห้องผ่าตัดเสมือนจริง ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์หลากหลาย เช่น การใช้ Augmented Reality มาช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เพื่อให้แพทย์ผ่าตัดได้แม่นยำขึ้น หรือการซ้อมผ่าตัดเสมือนจริง (Surgery Simulation) ในการผ่าตัดที่ซับซ้อน ยาก และมีความเสี่ยงสูงและลดงบประมาณได้อย่างดี รวมถึง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่ใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุดที่รวมเอาผลลัพธ์จากเครื่อง MRI ซีทีสแกน และการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซเรย์ สร้างเป็นแบบจำลองสามมิติซึ่งแพทย์และคนไข้สามารถสำรวจและปรับแต่งได้ไม่ต่างจากกำลังเล่นเกมในโลกเสมือนจริง

นอกจากนี้ แบบจำลองสามมิติยังช่วยในการสื่อสารกับคนไข้ให้เข้าใจสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่อายุน้อยหรืออาจไม่มีความรู้ด้านศัพท์แสงทางการแพทย์ ซึ่งที่ผ่านมาแพทย์มักจะหยิบแบบจำลองมาตรฐานของอวัยวะมนุษย์แล้วชี้ให้คนไข้จินตนาการว่าความผิดปกติเกิดขึ้นตรงไหน แต่เทคโนโลยี Metaverse จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายด้วยสองตาของตัวเอง

สุดท้ายทาง Jakaverse และ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จะมีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เหล่านี้ร่วมกัน โดยพื้นที่ของโรงพยาบาลตั้งอยู่บนติดกับห้างสรรพสินค้าบลูพอร์ต

Facebook Comments


Social sharing

Related post