Digiqole ad

“จักรพงษ์ แสงมณี” รมชกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเวทีสัมมนาเวทีสัมมนา “Thailand 2024 The Great Challengers เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส” ในหัวข้อ “เปิดโฉมอุตสาหกรรม-การทูตยุคใหม่ ในมุมมอง รมต. New Gen”

 “จักรพงษ์ แสงมณี” รมชกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเวทีสัมมนาเวทีสัมมนา “Thailand 2024 The Great Challengers เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส” ในหัวข้อ “เปิดโฉมอุตสาหกรรม-การทูตยุคใหม่ ในมุมมอง รมต. New Gen”
Social sharing

Digiqole ad
24 มกราคม 2567 นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมเวทีสัมมนาเวทีสัมมนา “Thailand 2024 The Great Challengers เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส” โดยมติชน ในหัวข้อ “เปิดโฉมอุตสาหกรรม-การทูตยุคใหม่ ในมุมมอง รมต. New Gen” โดยได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า การต่างประเทศไทยจะมีจุดยืนที่เป็นกลาง ไม่เป็นคู่ขัดแย้งของใคร แต่มีเป้าหมายชัดเจน เตรียมตัวพร้อมสำหรับความท้าทายใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อไทย โดยจะเร่งเปิดประตูการค้าและการลงทุน พร้อมเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เพิ่ม 12 ฉบับ โดยเริ่มจาก FTA ไทย-อียูที่มีแผนจะสำเร็จใน 18 เดือน และรัฐบาลจะวางตัวเป็นผู้อำนวยความสะดวก ลดอุปสรรคในดำเนินธุรกิจ เพิ่มความง่ายในการเดินทาง (Ease of Travelling) และเพิ่มอิทธิพลของหนังสือเดินทางไทยผ่านการยกเว้นวีซ่า (Visa Free) ซึ่งกำลังเจรจายกเว้นวีซ่าเชงเก้นในการเข้ากลุ่มประเทศยุโรปและวีซ่าสหราชอาณาจักร ในส่วนการยกเว้นวีซ่าระหว่างไทย-จีน จะเกิดขึ้นแล้วในวันที่ 1 มีนาคมนี้
.
1. ท่ามกลางโลกที่แบ่งขั้วมากขึ้น รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงการต่างประเทศอธิบายว่า ที่ผ่านมาเราเป็น ‘เด็กดี’ ที่มีเพื่อนมาก ไทยมี 99 สถานทูตและสถานกงสุลทั่วโลก แต่กลับไม่มีความสำคัญในเวทีโลก บทบาทใหม่ที่เราจะเป็น คือ การมีจุดยืนที่เป็นกลาง แต่มีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อเตรียมรับมืออุปสรรคใหม่ที่จะกระทบไทย เรายืนยันว่าจะไม่เป็นคู่ขัดแย้งของใคร เพราะไทยถือเป็นประเทศขนาดกลางค่อนเล็กจากขนาดเศรษฐกิจอันดับ 20 กว่าของโลกและมีประชากรประมาณ 70 ล้านคน กระทรวงการต่างประเทศจะคอยติดตามความท้าทายใหม่ ๆ อาทิ การเลือกตั้งในต่างประเทศ และสงคราม โดยจะคาดการณ์และปรับตัวในทุกสถานการณ์ เช่น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) ที่ลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม ต้องติดตามว่าจะดำเนินการต่ออย่างไร เพื่อประสานกับทุกกระทรวงว่าจะเตรียมตัวอย่างไร เมื่อแต่ละประเทศมีผู้นำใหม่ ผู้นำจะพาประเทศไปในทิศทางใด
.
2. กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นด่านหน้าในการไปเปิดประตูให้ทุกคนเห็นว่าเราเปิดประเทศและพร้อมรับการลงทุนจากต่างประเทศ เรายังมีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการค้า (trade volume) ซึ่งไม่ได้ต้องการให้เพียงเข้ามาซื้อของหรือลงทุนในประเทศเรา แต่ต้องการเปิดให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อนำเงินกลับมาประเทศด้วย อาทิ แอฟริกาใต้ที่ได้มีการพูดคุยกัน เราตั้งเป้าหมายว่าภายในสิ้นปี 2568 ควรมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 6,000 ล้านเหรียญ จากเดิม 3,000 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแอฟริกาใต้จะเป็นเหมือนประตูให้ไทยในทวีปแอฟริกา
.
3. ในด้านการขยายโอกาสทางธุรกิจ ดังที่ทราบกันว่านายกรัฐมนตรีเดินทางไปต่างประเทศประมาณ 10 ประเทศในช่วง 4 เดือน ท่านพานักธุรกิจไทยไปพบกับนักธุรกิจต่างประเทศเพื่อขยายโอกาสให้ธุรกิจไทย เราจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ให้ได้หารือกัน เมื่อเกิดปัญหาติดขัดใด รัฐบาลจะช่วยหาทางออกให้ในฐานะผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ให้ภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างพลังให้ภาคเอกชนสร้างโอกาสให้กับประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศต้องการเปิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยมี โดยล่าสุด ได้ไปประชุมขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM) ซึ่งมีสมาชิก 120 กว่าประเทศ บางประเทศถามว่าไทยจะเปิดสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือไม่ แต่เราต้องดูความพร้อมของแต่ละที่ เพราะต้องคำนึงถึงจำนวนคนไทยในแต่พื้นที่ เนื่องจากภารกิจหลักหนึ่งของกระทรวงคือการดูแลคนไทยในต่างประเทศ
.
4. จากที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อดึงดูการลงทุน นักลงทุนสนใจว่าไทยมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศใดบ้าง ดังนั้น FTA เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ในปัจจุบัน เรามี FTA ทั้งหมด 14 ฉบับ ซึ่งเรามีแผนกับกระทรวงพาณิชย์แล้วว่าต้องมีการเจรจาบรรลุข้อตกลงเพิ่มอีก 12 ฉบับ โดยเราจะเร่งทำ FTA กับสหภาพยุโรป (EU) ก่อน ซึ่งมีแผนทำให้เสร็จใน 18 เดือน และจากที่ตนเพิ่งกลับมาจากแอฟริกาใต้ ได้มีการพูดคุยว่าอยากทำ FTA กับสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Customs. Union: SACU) ที่แอฟริกาใต้เป็นพี่ใหญ่ หากทั้งสองฝ่ายศึกษาผลกระทบและผลประโยชน์ทุกอย่างแล้ว เราจะยื่นขอไปที่เลขาธิการของ SACU และเขาจะพิจารณาทันที นอกจากนี้ เรายังมีกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) และออสเตรเลียที่จะดำเนินการ เรายังต้องยกระดับข้อตกลงกับเกาหลีใต้ และที่มีแผนว่าอยากจะเจรจาเพิ่มคือภูฏาน
.
5. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศยืนยันว่า รัฐบาลจะทำให้หนังสือเดินทางไทยทรงอิทธิพลในระดับโลก โดยนายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการยกเว้นวีซ่าเชงเก้น (Schengen) ของสหภาพยุโรป หรือในด้านสหราชอาณาจักร เราได้พูดคุยกับท่านทูตแล้วว่ามีความเป็นไปได้อย่างไรบ้าง ในขั้นต้น ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา เราได้ยกเว้นวีซ่า (Visa Free) ให้กับจีน คาซัคสถาน ไต้หวัน และอินเดีย ในทางกลับกัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีนจะมาเจรจาการยกเว้นวีซ่าถาวรระหว่างกัน เท่ากับว่าการเดินทางระหว่างไทยกับจีนในอนาคตตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป คนไทยจะไม่ต้องขอวีซ่าแล้ว
.
6. กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการในประเทศอื่นต่อไป เพราะว่าเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง (Ease of Travelling) บางประเทศได้แจ้งมาว่าการที่จะขอวีซ่ามาประเทศไทยอาจใช้เวลา 1-2 เดือน เพราะว่าเราไม่ได้มีสถานทูตทั่วโลก ซึ่งกระทรวงจะพยายามจะลดขั้นตอนให้ได้มากที่สุด ในอนาคตเราจะใช้เทคโนโลยีในการขอวีซ่า โดยจะมีเว็บไซต์สำหรับยื่นเอกสารเข้าไป แล้วให้อนุมัติผ่านเว็บไซต์ ตอนนี้กระทรวงกำลังศึกษาขั้นตอนในการทำ เพราะยังเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย เราต้องตรวจสอบทุกอย่างให้รอบคอบที่สุดก่อนที่จะให้วีซ่ากับใคร
.
7. เพื่อส่งเสริมธุรกิจ-เศรษฐกิจผ่านการการลดอุปสรรคและเพิ่มความสะดวก คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าไทยได้ 30 วัน และเพื่อดึงดูดหัวกะทิจากต่างประเทศ เราจะมีวีซ่าระยะยาวที่จะทำผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยกลุ่ม Digital Nomad จะสามารถเข้ามาไทยผ่านวีซ่านี้ได้ จากกรณีที่มีปัญหาว่านักธุรกิจต่างชาติหรือ Expat ต้องรายงานตัวเป็นประจำทุก 30 หรือ 60 วัน เป็นสิ่งที่กระทรวงกำลังดำเนินการหาแนวทางให้ไม่ต้องทำ โดยประเทศไทยมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบและเป็นประเทศที่คนอยากมาอยู่อันดับต้น ๆ จึงต้องแก้ปัญหาเล็กน้อยเหล่านี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดผู้มีความสามารถสูงต่อไป
.
เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post