Digiqole ad

งาน ‘Crafts Bangkok 2023 ‘ มหกรรมงานแสดงสินค้าศิลปหัตถกรรมและงานคราฟต์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี จัดโดย สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)

 งาน ‘Crafts Bangkok 2023 ‘ มหกรรมงานแสดงสินค้าศิลปหัตถกรรมและงานคราฟต์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี จัดโดย สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)
Social sharing
Digiqole ad

ในงาน Crafts Bangkok 2023 มหกรรมงานแสดงสินค้าศิลปหัตถกรรมและงานคราฟต์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี ณ Hall 98-99 ไบเทค บางนา จัดโดย สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. คุณนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT พเยี่ยมชมนิทรรศการ พร้อมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการผลลัพธ์จากการพัฒนาของโครงการฯ 

โดย คุณนฤดี เปิดเผยว่า เนื่องจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACIT Concept) อย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมได้นำเสนอแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรมไทย โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่าง “ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม” และ “นักออกแบบ” ดำเนินการออกแบบและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมบรรจุภัณฑ์ ภายใต้แนวคิด Today Life with BCG

ซึ่งในปีนี้ สศท. มีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้เพิ่มมากขึ้น ต่อยอดองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมที่ได้รับการต่อยอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่และพัฒนาให้เกิดความร่วมสมัย โดยใช้หลักการ BCG (Bio Circular และ Green) นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่สอดรับกับภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างถูกต้อง จนสามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อทั้งใน และต่างประเทศ และมีมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมบรรจุภัณฑ์ ภายใต้ SACIT Brand เพื่อการพัฒนา และการส่งออกอย่างยั่งยืน

ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง “ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม” และ “นักออกแบบ” ซึ่งได้เป็นผลลัพธ์จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย จำนวน 40 ผลงาน ที่มีโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้

ตัวอย่างผลงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก ดร.กรกต อารมย์ดี (แบรนด์ KORAKOT) (ตรงกลางจากรูป)เป็นที่ปรึกษาและออกแบบกลุ่ม ผู้ผลิตงานศิลปะหัตถกรรมจำนวน 2 ราย

 

1.นางทิวาพร ปินตาสี  ตุงและโคมศรีล้านนา จ.ลำปาง (ซ้ายมือจากรูป)

 ชื่อผลงาน (Collection) :          Fold Lamp

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) :

การขนส่งผลิตภัณฑ์ โคมศรีล้านนาในปัจจุบัน ยังคงเป็นการขนส่งแบบแพ็คเกจสินค้าสำเร็จรูปที่ไม่สามารถถอดประกอบได้ ลูกค้าต่างชาติที่มีกำลังซื้อต้องการสั่งเพื่อให้ขนส่งไปยังต่างประเทศจำนวนมาก แต่ทางผู้ผลิตติดปัญหาในเรื่องทุนของการส่งออก จึงต้องการพัฒนารูปแบบโคมไฟที่สามารถพับได้ หรือถอดประกอบเพื่อการขนส่งที่สะดวกขึ้น

Contact:  +66 (0) 8 6657 2728​

Line ID  : 086657 2728​

2.นางสาวเจ๊ะนาตีป๊ะ มะหิและ     วิสาหกิจชุมชนผ้าคลุมผมสตรีบ้านลาเวง จ.นราธิวาส (ขวามือจากรูป)

ชื่อผลงาน (Collection) :  เกยบ่อ เกยหาด

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) :

จ.นราธิวาส มีแหล่งอาหารและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น กุ้งก้ามกราม ที่เป็นทั้งอาหารและเป็นทั้งสัตว์น้ำที่เลี้ยงเพื่ออาชีพ และปลาพลวงชมพู หรือ อีแกกือเลาะห์ ที่เป็นปลาเศรษฐกิจ สร้างรายได้อย่างมากให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้นำรูปร่างรูปลักษณ์ของสัตว์น้ำทั้ง 2 ชนิดนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

Contact:  +66 (0) 8 6292 4972

Line ID  : 0862924972

และผลงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก อ.วิวัฒน์ แซ่ลี้ (LEENON) (ตรงกลางจากรูป) เป็นที่ปรึกษาและออกแบบกลุ่ม ผู้ผลิตงานศิลปะหัตถกรรมจำนวน 2 ราย

1.นายไชยมงคล จันทร์ตา  ร้านป่าน-ฝ้าย จ.เชียงใหม่ (ซ้ายมือจากรูป)

ชื่อผลงาน (Collection) :          Tribeca

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) :

เครื่องแต่งกายที่ได้แรงบันดาลใจจากการที่แบรนด์ ป่าน-ฝ้าย ได้ทำงานร่วมกับชนเผ่าต่างๆ ในหลายมิติทางวัฒนธรรม เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน กระทั่งเกิดแนวคิดในการผสมผสานเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชนเผ่าต่างๆ สีสัน ลวดลายผ้า ไปถึงความเชื่อที่ส่งต่อกันมา ถูกตีความ และนำเสนอด้วยความสร้างสรรค์ในแบบป่าน-ฝ้าย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของปัจจุบัน โดยเลือกวัตถุดิบเป็นผ้า และเครื่องแต่งกายที่ไม่ใช้แล้วของชนเผ่า เพื่อคืนชีวิตให้สิ่งเหล่านี้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งภายใต้รูปแบบใหม่ สู่ผู้ใช้งานกลุ่มใหม่ ๆ

Contact:  +66 (0) 9 1069 1043

Line ID  : 0910691043

2.นางกาญจนมาส สุวรรณวงศ์    Kanflora กรุงเทพมหานคร (ขวามือจากรูป)

ชื่อผลงาน (Collection) :          Malee Malai

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) :

งานเครื่องประดับ และของแต่งบ้าน ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากสินค้าเดิมของแบรนด์ Kanflora คือ พวงมาลัยจากกระดาษ ที่จำหน่ายมายาวนานเกิน 10 ปี เกิดเป็นความต้องการสินค้าใหม่ การใช้งานใหม่ และเทคนิค รวมถึงวัสดุใหม่ ที่สามารถแก้ปัญหาข้อจำกัดเดิมๆ ของพวงมาลัยประดิษฐ์ได้ด้วยองค์ประกอบที่มาจากธรรมชาติ  สู่การพัฒนาวัสดุจากผ้าฝ้าย การย้อมสีธรรมชาติ และการเคลือบกันน้ำด้วยโปรตีนจากไข่ ให้เป็นวัสดุที่เหมาะสมกับพวงมาลัยในรูปแบบเครื่องประดับ และของใช้ของแต่งบ้าน  สร้างความแตกต่างให้กับสินค้า รวมถึงพัฒนาทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ให้กับแบรนด์ด้วย

Contact:  +66 (0) 8 9774 9354

Line ID  : 0897749354

สำหรับผู้ที่สนใจผลงานการพัฒนาทั้งหมดในโครงการ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือเข้าไปเยียมชมผลงานของนักออกแบบ และผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมได้ที่ www.sacit.or.th

 

Facebook Comments

Related post