Digiqole ad

“ความขัดแย้ง”ลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก” เจรจาหาทางออก ล้มเหลว พช.ปข.อ้างทำผิดกฏให้ขายในฐานะ ขาจร แม่ค้ายันข้อเสนอไม่เป็นธรรม

 “ความขัดแย้ง”ลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก” เจรจาหาทางออก ล้มเหลว พช.ปข.อ้างทำผิดกฏให้ขายในฐานะ ขาจร แม่ค้ายันข้อเสนอไม่เป็นธรรม
Social sharing

Digiqole ad

“จากกรณี นางน้ำค้าง ทรัพย์ศรี แม่ค้าลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก และน.ส.ธนญา สุขธนะประเสริญ เจ้าของแฟรนไชส์ “ลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก”หลังจากที่ยื่นหนังสือผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นาน 3 เดือนแต่ไม่ได้รับคำตอบ ขณะที่ก่อนหน้านี้มีการพูดคุยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา แต่ไม่มีข้อสรุปจึงมีการเทลูกชิ้นและน้ำจิ้มที่หน้าศาลากลางจังหวัด จากนั้นวันที่ 21ธันวาคม 2566 น.ส.ธนญา และนางน้ำค้าง ได้เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงมีการนัดคู่กรณีมาเจรจาหาข้อสรุปในครั้งนี้ นั้น ”

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2566 ที่ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายดำรงค์ มากระจัย พัฒนาการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม เจ้าหน้าที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่เทศบาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้ง ผู้บริหารตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ และ น.ส.น้ำค้าง ทรัพย์ศรี แม่ค้า พร้อมด้วย น.ส.ธนญา สุขธนะประเสริฐ เจ้าของแฟรนไชส์ ลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก ร่วมประชุมหาทางออกกรณีความขัดแย้งจากการถูกเพิงถอนจากคณะกรรมการตลาดห้ามขายลูกชิ้นภายใต้แฟรนไชส์ ลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก ในตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ (ริมทะเล)

ในที่ประชุมโดยมีการพูดคุย 2 ประเด็นหลัก คือประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่ง นายดำรงค์ กล่าวว่า ตลาดประชารัฐมีที่มาตามนโยบายรัฐบาล ปี 2553 ให้ทุกจังหวัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อที่จะให้นำสินค้ามาจำหน่าย ให้ชุมชนบริหารจัดการกันเอง และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร 9 คน กำหนดกฏระเบียบ ชี้แจงกฏระเบียบทุกฝ่าย ทุกปี ยืนยันตลาดถูกตัองตาม กฏหมาย ตาม มติ ครม.ซึ่ง

ตลาดมี 2 โซน บริหารโดยเทศบาลเมือง และคณะกรรมการตลาด คิดค่าเช่า 30 บาทต่อพื้นที่ 3 เมตร ค่าใช้จ่ายที่เก็บจากผู้ค้าจะนำไปให้เทศบาลทั้งหมด

ซึ่งผู้ประกอบการ มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มลงทะเบียนหลัก ผู้ประกอบการสำรอง และผู้ประกอบการขาจร และเมื่อ 2 ปีก่อน ทางตลาดตัดสิทธิ์ เจ้าของแบรนด์ “ลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก” ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขาจร บางอาทิตย์ได้ที่ขายไม่ดี ก็ตอบโต้ผ่านโซเซียล และทำผิดกฏของตลาด 10 ข้อ จึงโดนตัดสิทธิ์การขายทั้ง คน และสินค้า

ส่วนแม่ค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการหลัก นำลูกชิ้นผีบอก มาขายโดยยังไม่ได้รับการอนุมัติเปลี่ยนสินค้าจากคณะกรรมการ แถมบางครั้งเจ้าของแบรนด์มาแสดงตัวช่วยขาย ทำให้กรรมการ สับสนว่า เป็นผู้ขายเอง จึงยกเลิกบูธของน้ำค้าง ซึ่งทางกรรมการตักเตือนแล้ว เจรจาไม่ฟัง แต่กลับนำเอาไปโพสต์ โซเซียล ซึ่งปฏิบัติ ผิดกฏ 4 ข้อ

เบื้องต้นเสนอข้อแก้ไข โดยยืนยันเพิกถอนสิทธิ์การขายบูธเดิม แต่ให้นำสินค้าขายหน้าหน่วยงานราชการ ส่วนพื้นที่เต้นท์สีชมพูตอนนี้เต็ม ให้ขายบูธอื่น โดยเข้าระบบบัญชีเป็นผู้ขายจร หากมีเต้นท์ว่างถาวร จะมีสิทธิ์ขายถาวรได้ อย่างไรก็ตาม อนาคตจะขอขยายพื้นที่เพิ่ม นายดำรงค์ กล่าว

ขณะที่ น.ส.น้ำค้าง ทรัพย์ศรี แม่ค้าลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก กล่าวว่า ตนเองไม่รับข้อเสนอ ที่พช.ปข.และคณะกรรมการตลาดเสนอมา ที่ให้ไปอยู่บัญชีแม่ค้าสำรองตลาดเต็นท์ชมพูและตลาดถนนคนเดิน ซึ่งต้องรอล็อคว่างในแต่สัปดาห์ โดยมีความไม่แน่นอน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เคยขายมีที่ประจำ ซึ่งในที่ประชุมเวลาจะชี้แจงก็ถูกคณะกรรมการตลาดคอยแย้งตลอด ตนคิดว่าไม่มีความยุติธรรมและไม่ได้รับความเป็นธรรม ทุกกรณี

ทางด้าน น.ส.ธนญา สุขธนะประเสริฐ เจ้าของแฟรนไชส์ ลูกชิ้นปิ้ง น้ำจิ้มผีบอก กล่าวว่า ตนไม่พอใจในการประชุมวันนี้ เพราะตนไม่ได้ทำผิดอะไร ตามที่กรรมการตลาดกล่าวอ้างและที่ผ่านก็เป็นเรื่องระหว่างตนกับคณะกรรมการ ซึ่งจบไปแล้ว แต่ลูกค้าที่ซื้อแฟรนไชส์ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตนต้องมาปกป้อง การพูดคุยหาทางออกวันนี้ มองว่าหน่วยงานราชการไม่มีความยุติธรรมและไม่มีความเป็นธรรมให้กับแม่ค้า จากการที่ได้เดินหน้ายื่นเรื่องร้องเรียนกับหน่วยงานต่างๆรวมทั้งที่กระทรวงมหาดไทย มาก่อนหน้านี้ ซึ่งสิ่งที่ได้รับการพิจารณาวันนี้น่าเห็นใจแม่ค้ามากๆครอบครัวเขาจะอยู่ยังไง ซึ่งในที่ประชุมเวลาจะชี้แจงอะไร มีหน่วยงานคอยจะแย้งตลอด จนไม่มีโอกาสที่จะอธิบายหรือชี้แจงอะไรมากได้เลย ส่วนขอเสนอที่ พช.ปข.และคณะกรรมการตลาดเสนอมานั้น ตนเองมีความคิดเห็นว่า เพราะหากเป็นผู้ค้าขาจร อาจจะไม่ได้ขาย เพราะผู้ค้าขาจรที่ยังไม่มีที่ขาย มีจำนวนมาก และที่สำคัญในที่ประชุมมองว่า แม่ค้าหรือผู้เสียหายทำผิดกฏอย่างแรง ทั้งๆที่หน่วยงานภาครัฐก็มีส่วนผิดเหมือนกัน ตัวแม่ค้าเองอยากจะกลับไปขายที่เดิม ซึ่งตั้งแต่เปิดตลาดมาไม่มีสัญญา หรือกฏระเบียบให้รับรู้เลย แม่ค้าจึงไม่ยอมรับข้อเสนอ ตนเองได้เสนอแนะกับสื่อมวลชนให้ทางจังหวัดเปิดพื้นที่หน้าศาลากลางให้พ่อค้าแม่ค้าใหม่ได้ลงทะเบียนขาย และเห็นว่าทุกฝ่ายควรหันหน้าเข้าหากันร่วมพัฒนาจังหวัดให้มีชื่อเสียง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ

ผู้สื่อข่าวยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ขณะที่มีการประชุมและเจรจาอยู่บนชั้น 3 นั้นบริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัด มีกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ที่มารวมตัวชูป้ายโดยเขียนข้อความต่างๆนาๆ ซึ่งมีแม่ค้าบางรายให้ความคิดเห็นว่า ถ้าน.ส.น้ำค้างจะกลับมาขายในตลาดทุกคนก็ยินดีพร้อมต้อนรับ แต่ต้องทำตามกฏและระเบียบ

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post