Digiqole ad

ครม. มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. กฎหมายชาติพันธุ์ฉบับแรกของประเทศ

 ครม. มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. กฎหมายชาติพันธุ์ฉบับแรกของประเทศ
Social sharing

Digiqole ad
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธุ์ 2567 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. กฎหมายชาติพันธุ์ฉบับแรกของประเทศ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เสนอ
.
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า “ผมรู้สึกยินดี ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ในวันนี้ เพราะถือเป็นกฎหมายชาติพันธุ์ฉบับแรกของประเทศ ที่วางหลักการในการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีสำนึกความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน กฎมายฉบับนี้จะคุ้มครองวิถีชีวิตตามหลักสิทธิทางวัฒนธรรม ส่งเสริมศักยภาพให้กลุ่มชาติพันธุ์มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนบนฐานทุนทางวัฒนธรรม และสร้างความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
.
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช กล่าวด้วยว่า “กฎหมายฉบับนี้ เป็นหลักประกันให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีความมั่นคงในชีวิต สามารถประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ดำรงอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยทุนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ และทุนวัฒนธรรมที่หลากหลาย สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล”
.
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ มุ่งส่งเสริมให้สังคมเรียนรู้ ยอมรับและเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม วางรากฐานทางความคิดให้คนไทยเห็นคุณค่าของความหลากหลาย มีทักษะชีวิตที่จะดำรงอยู่ในสังคมที่มีความแตกต่าง สร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยให้หลุดพ้นจากการเป็นสังคมเปราะบางที่มีปัจจัยเสี่ยงจากความแตกต่างที่อาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรง ที่ฉุดรั้งการพัฒนาและขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ
.
ที่มา ; เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post