Digiqole ad

“ขัตติยา สวัสดิผล” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.64 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 “ขัตติยา สวัสดิผล” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.64 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Social sharing

Digiqole ad
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยได้ฝากถึงแนวคิดการทำหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ต้องครอบคลุมถึงทุกเพศสภาพ ยกระดับเป็นโครงการสามสิบบาทรักษาทุกที่ รวมถึงใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ภาษีพี่น้องให้คุ้มค่าและอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชน
.
นางสาวขัตติยา กล่าวว่าปัจจจุบันประเทศไทยมีโรงพยาบาลจำนวน 425 แห่งทั่วประเทศ อยู่ในกรุงเทพฯ 139 แห่ง อีกทั้งยังมีสถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืนอีกกว่า 35,577 แห่ง ในจำนวนนี้มีอยู่ในกรุงเทพฯ 7,685 แห่ง และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ขีดความสามารถด้านการแพทย์และพยาบาล ประเทศไทยเรามีศักยภาพสูง รวมถึงความพร้อมในด้านการสื่อสารการบริหาร แสดงให้เห็นความพร้อม ในการเป็น Medical Hub หรือการเป็นประเทศปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
.
สำหรับพี่น้องประชาชนไทยเรานั้น ก่อนหน้านี้เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้ยากจากปัจจัยด้านการเงิน แต่หลังจากมี “หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือที่เรียกว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” แล้ว ก็ทำให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างถ้วนหน้า สะท้อนให้เห็นว่า พรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพพี่น้องและยังเป็นความมั่นคงในชีวิตของพี่น้องอีกด้วย
.
ในช่วงสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา รวมถึงการที่ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มระบบ ทำให้การดำเนินงานด้านสุขภาพมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งรายจ่ายเหล่านี้ท้าทายต่อเสถียรภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ อีกทั้งพี่น้องประชาชนมีปัญหาภาระด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าเราจะมีสวัสดิการรักษาที่ครอบคลุมให้ทุกคนในประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเพียงพอ เพราะมีรายจ่ายแฝงกระจายอยู่ เช่น ค่าเดินทางมารักษาพยาบาล การซื้อผ้าอนามัยของผู้หญิง ซึ่งรายจ่ายเหล่านี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่พี่น้องต้องรับภาระเพื่อสุขภาวะทางเพศ ในแง่นี้เอง จึงอยากให้สปสช.ได้คำนึงถึงความเป็นธรรมทางเพศ โดยใช้กลไก Gender responsive budgeting (GRB) หรือการจัดทำงบประมาณที่ตอบสนองต่อเพศภาวะ และมีโครงการที่ครอบคลุมถึงสุขภาวะทางเพศเพิ่มมากขึ้น
.
อย่างไรก็ตาม สปสช. ได้ยกเครื่องระบบการทำงาน มีโครงการให้ประชาชนเข้าถึงยาต้านไว้รัสโดยไม่มีค่าใช้จ่าย การขยายสิทธิของการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกหรือ HPV การแจกผ้าอนามัย การให้บริการและกระจายฮอร์โมนข้ามเพศอย่างทั่วถึง กระทั่งผลักดันเชื่อมโยงการทำงานให้รองรับ “30 บาทสามารถรักษาได้ทุกที่ เพียงแค่พกบัตรประชาชนใบเดียว” ก็สามารถรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานหน้าบ้านและหลังบ้านที่ต้องเบิกจ่าย อยู่ในความรับผิดชอบของ สปสช.
.
“ดังนั้น หน้าที่สำคัญด้านสาธารณสุขที่สำคัญ นอกจากจะไม่ใช่แค่การรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยแล้ว ยังรวมถึงการป้องกันไม่ให้ประชาชนเจ็บป่วยแต่แรก ย่อมจะมีความคุ้มค่าและประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาในภายหลัง” สส.บัญชีรายชื่อ กล่าว
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post