Digiqole ad

การอภิปรายหลักการและเหตุผล ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ….

 การอภิปรายหลักการและเหตุผล ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ….
Social sharing

Digiqole ad
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การเสนอร่างกฎหมายต่างๆ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ในการประชุม หนึ่งในนั้นคือการอภิปรายหลักการและเหตุผล ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. …. ซึ่งจาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยร่วมอภิปรายด้วย
จาตุรนต์ กล่าวว่า ร่างนี้มาจากความต้องการของชาวประมง เป็นนิมิตรใหม่ โดยครั้งนี้ร่างของคณะรัฐมนตรีได้รวมเอาความเห็นของ สส. ซึ่งคุยตั้งแต่ประชุมสภาครั้งที่แล้ว และตลอดการหาเสียงเลือกตั้งพรรคการเมืองต่างๆ ก็ไปฟังความเห็นของประชาชน และความเห็นต่างๆ ก็ถูกบรรจุอยู่ในร่างของพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งร่างของพรรคเพื่อไทย โดยวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.พะเยา เป็นผู้เสนอ แตกต่างจากวิธีการเดิม คือเมื่อ สส. เสนอร่างกฏหมาย รัฐบาลรับไปก่อนพิจารณา พอกลับมามีร่างของรัฐบาลมา เพื่อจะเป็นร่างหลัก และเนื้อหาจะถูกกำหนดในส่วนราชการต่างๆ มากกว่าจะมีความสอดคล้องกับร่างของสมาชิกผู้แทนราษฏร ในครั้งนี้ เมื่อมีการนำความเห็นต่างๆ จากทั้งพรรคการเมือง จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ได้ร่างกฎหมาย ที่ไม่ขัดต่อ IUU และจะเป็นการนำรายได้คืนสู่พี่น้องชาวประมง รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยที่มีความสมดุลกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งให้ยั่งยืน และกฏเกณฑ์ต่างๆ บนหลักมนุษยชน
ในท้ายที่สุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. …. ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 413 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 0 เสียง จากจำนวนผู้ลงมติ 413 คน และเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 37 คน
ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยได้ยื่นร่างกฎหมายนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ในรัฐบาลที่ผ่านมา และได้ยื่นกลับเข้าสู่การพิจารณาอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2566 จนผ่านสภาในครั้งนี้
Facebook Comments


Social sharing

Related post