Digiqole ad

การนิคมอุตฯ ร่วม คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามโครงการตรวจสุขภาพ

 การนิคมอุตฯ ร่วม คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามโครงการตรวจสุขภาพ
Social sharing

Digiqole ad

การนิคมอุตฯ ร่วม คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการตรวจสุขภาพ เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บุคลากร กนอ. ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการในนิคมฯ รวมถึงชุมชนโดยรอบนิคมฯ ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

รองศาสตราจารย์ วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นางนลินี กาญจนามัย รองผู้ว่าการ (บริหาร) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการตรวจสุขภาพ ร่วมกับคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งกนอ.ให้ความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค ของบุคลากรของ กนอ. ผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด

 

“บันทึกข้อตกลงนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของ กนอ. ที่จะใช้ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร และเครือข่ายที่ กนอ.มี ในการดูแลสุขภาพของแรงงาน ผู้ประกอบการ ตลอดจนชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม และยิ่งเราได้รับความร่วมมือจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ยิ่งตอบสนองต่อความต้องการด้านการบริการทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านสุขภาพที่ยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรม”รองศาสตราจารย์ วีริศ กล่าว

รองศาสตราจารย์ ปาลนี อัมรานนท์ คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะให้ความร่วมมือดังนี้ 1.ให้บริการตรวจสุขภาพตามสิทธิที่ได้รับจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสิทธิตรวจสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิประกันสังคม โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 2.เปิดจุดตรวจเชิงรุก จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพ รวมถึงการออกใบรับรองผลการตรวจให้แก่ผู้เข้ารับบริการ 3.ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และการป้องกันตนเองเกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพ 4.จัดหาบุคลากรทางการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ 5.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอความช่วยเหลือตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 6.จัดหาเจ้าหน้าที่จัดเก็บข้อมูลเป็นสถิติ และส่งต่อข้อมูลทางสถิติให้แก่ผู้ประกอบกิจการเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการตรวจทั้งหมด และ 7.ให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงที่พบเจอจากการตรวจคัดกรอง โดยให้ปฏิบัติตามเกณฑ์การส่งต่อของระบบการบริการสาธารณสุขต่อไป

สำหรับบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายลงนามร่วมกัน และเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากทั้งสองฝ่ายประสงค์จะขยายระยะเวลาความร่วมมือออกไปอีก ทั้งสองฝ่ายจะตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับการทำบันทึกความเข้าใจฉบับนี้

Facebook Comments


Social sharing

Related post