Digiqole ad

กรมชลฯ ขับเคลื่อน โครงการชลประทานอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมม(Smart Irrigation) โครงการส่งน้ำฯ มูลบน

 กรมชลฯ ขับเคลื่อน โครงการชลประทานอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมม(Smart Irrigation) โครงการส่งน้ำฯ มูลบน
Social sharing

Digiqole ad

กรมชลฯ ขับเคลื่อน โครงการชลประทานอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมม(Smart Irrigation) โครงการส่งน้ำฯ มูลบน

วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน จังหวัดนครราชสีมา นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมและรับฟังข้อมูลการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน จังหวัดนครราชสีมา

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ได้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นการยกระดับประสิทธิภาพของพื้นที่ชลประทาน โดยการปรับปรุงระบบชลประทานเดิม พร้อมประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลและการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบโทรมาตรและระบบ Internet of Things (IoT) สร้างระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ (Smart Irrigation) ที่สามารถส่งน้ำตามความต้องการใช้น้ำของพืช ควบคุมการเปิดปิดบานประตูน้ำและติดตามรายงานผลการส่งน้ำโดยอัตโนมัติ ทำให้ลดการสูญเสียน้ำ และนำน้ำไปใช้ประโยชน์เพิ่มมูลค่าได้อีก ตลอดจนแนะนำการเพาะปลูกพืชมูลค่าสูง การจัดรูปแปลงและระบบจัดการการเพาะปลูกแบบอัจฉริยะสำหรับแปลงเกษตรกรรมรายย่อยที่ควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยทำให้เกิดการประหยัดน้ำและลดค่าใช้จ่าย ส่งเสริมการทำนาเปียกสลับแห้ง ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมที่ “ผลิตมาก แต่สร้างรายได้น้อย” ไปสู่เกษตรสมัยใหม่ที่“ผลิตน้อย แต่สร้างรายได้มาก” สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้”

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน ตั้งอยู่ที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ได้เริ่มดำเนินการส่งน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 (อายุ 25 ปี) มีแหล่งเก็บกักน้ำเขื่อนมูลบนความจุเก็บกัก 141 ล้าน ลบ.ม. สามารถส่งน้ำพื้นที่ชลประทาน 45,798 ไร่ ในพื้นที่โครงการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยการปลูกข้าวเจ้า ร้อยละ 95 % ของพื้นที่ สัดส่วนพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 23 ไร่ต่อครัวเรือน ในส่วนที่เหลือมีการปลูกอ้อย ข้าวโพดและมันสำปะหลัง ซึ่งแนวทางการปรับปรุงโครงการมีทั้งแบบมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง อาทิเช่น การประยุกต์ใช้ระบบ Internet of Things (IoT) การจัดทำฐานข้อมูลระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยในการตัดสินใจเรื่องการบริหารจัดการน้ำ สร้างแพลตฟอร์มโดยใช้ Application “RID มีสุข” ที่ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่เกษตรกร เช่น แนะนำการให้น้ำตามสภาพภูมิอากาศ การเตือนภัยโรคและแมลง เป็นต้น รวมทั้งเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้ซื้อผลผลิต ทำให้ผลิตได้ตรงตามความต้องการของตลาด การขยายผลระบบการจัดการเพาะปลูกอัจฉริยะ (Smart farm) และแบบมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง อาทิเช่น ปรับปรุงซ่อมแซมดาดคอนกรีตคลองส่งน้ำ ปรับปรุงและเพิ่มอาคารชลประทาน เพื่อช่วยในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

“ช่วงแรกที่ริเริ่มโครงการ กรมชลประทาน ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เกษตรกรมีผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ลดความขัดแย้งการใช้น้ำในกลุ่มเกษตรกร สามารถทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้ (Contract Farming) ทำให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น รวมทั้งขายสินค้าให้กับต่างประเทศ และสร้างโอกาสการขายคาร์บอนเครดิต จึงเป็นการเพิ่มรายได้สร้างความมั่นคงให้เกษตรกรไทยแบบยั่งยืน ขณะที่กรมชลประทานเองก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำของโครงการให้สูงขึ้น โดยระยะต่อไปมีแผนที่จะขยายผลการดำเนินงานไปทุกพื้นที่ชลประทานเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำในภาคการเกษตร ที่สอดรับกับเป้าหมายของกรมชลประทานที่มุ่งเป็นองค์กรอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580” นายวิทยากล่าว

 

กรมชลประทานมีแผนงานที่จะขยายผลการดำเนินงานไปทุกพื้นที่ชลประทานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานเดิม โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบ (IoT) เพื่อช่วยในการควบคุมปริมาณน้ำส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้น้ำตั้งแต่อาคารหัวงานจนถึงแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำในภาคการเกษตรต่อไปในอนาคต

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post